TH17353C3 - โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต - Google Patents

โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต

Info

Publication number
TH17353C3
TH17353C3 TH1903003227U TH1903003227U TH17353C3 TH 17353 C3 TH17353 C3 TH 17353C3 TH 1903003227 U TH1903003227 U TH 1903003227U TH 1903003227 U TH1903003227 U TH 1903003227U TH 17353 C3 TH17353 C3 TH 17353C3
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
yogurt
set yogurt
ingredients
degrees celsius
lab
Prior art date
Application number
TH1903003227U
Other languages
English (en)
Other versions
TH17353A3 (th
Inventor
ทรายทอง นายประมวล
วดีศิริศักดิ์ นางสาวกานต์ธิดา
เทวารุทธิ์ ชิติสรรค์กุล นางวนิดา
Original Assignee
นางสาวปุณนมาส ธรรมรัตน์
นางธิดารัตน์ ทวาเรศเรืองคาม
Filing date
Publication date
Application filed by นางสาวปุณนมาส ธรรมรัตน์, นางธิดารัตน์ ทวาเรศเรืองคาม filed Critical นางสาวปุณนมาส ธรรมรัตน์
Publication of TH17353A3 publication Critical patent/TH17353A3/th
Publication of TH17353C3 publication Critical patent/TH17353C3/th

Links

Abstract

หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า บทสรุปการประดิษฐ์ โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ตามการประดิษฐ์นี้ ประกอบด้วย นํ้าถั่วลูกไก่ นํ้าตาล ทราย หัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria LAB) สารให้ความคงตัว (stabilizer) และสารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) มีกรรมวิธีการผลิตที่มีการควบคุมสภาวะการผลิตและมี อัตราส่วนของวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมเพื่อให้ได้โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ตามต้องการ โดยอาศัยหัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria: LAB) ในการหมัก มีขั้นตอน กรรมวิธีการผลิตดังนี้ เริ่มจากนำนํ้าถั่วลูกไก่มากรองสิ่งสกปรกและสารแขวนลอยออก เติมนํ้าตาลทราย สารให้ความคงตัว (stabilizer) และสารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) คนจนส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นเนื้อ เดียวกัน นำไปให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้นนำไปผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยเครื่องโฮโมจิไนซ์ (homogenizer) วางทิ้งไว้ให้เย็น เติมหัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria: LAB) ผสมให้เข้ากัน นำส่วนผสมทั้งหมดบรรจุในบรรจุภัณฑ์และทำการหมักด้วยการบ่ม ที่อุณหภูมิ 40 - 45 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 18-24 ชั่วโมง ได้เป็นโยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) เก็บ รักษาผลิตภัณฑ์ไว้ที่อุณหภูมิ 8 - 10 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาจนถึงผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ไม่มีนมจากสัตว์เป็นส่วนประกอบ จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคกลุ่มที่ไม่ สามารถรับประทานนมจากสัตว์ได้อีกทั้งโยเกิร์ตมีกลิ่นรสที่ดี จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้รักสุขภาพ ที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ :

Claims (7)

ข้อถือสิทธฺ์ (ทั้งหมด) ซึ่งจะไม่ปรากฏบนหน้าประกาศโฆษณา :หน้า 1 ของจำนวน 2 หน้า ข้อถือสิทธิ
1. โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ประกอบด้วย น้ำถั่วลูกไก่ 92 - 96 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก น้ำตาลทราย 3 - 7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria: LAB) 0.1 - 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สารให้ความคงตัว (stabilizer) 0.3 - 0.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) 0.3 - 0.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
2. โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง หัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิต กรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria: LAB) เลือกได้จาก สเตรปโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophiles) หรือ แลกโทแบซิล บัลการิคัส (Lactobacillus subs p. bulgaricus) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสม รวมกัน
3. โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง สารให้ความคงตัว (stabilizer) เลือกได้จาก เพคติน (pectin) เจลาติน (gelatin) สตาร์ซ (starch) สตาร์ชดัดแปร (modified starch) อย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือผสมรวมกัน
4. โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (setyogurt) ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง สารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) เลือกได้จากกัวกัม (guar gum) แอลจีเนส (alginate) คาร์ราจีแนน (carrageenan) แซน แทนกัม (xanthan gum) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมรวมกัน
5. โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (setyogurt) ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง อาจประกอบเพิ่มเติมด้วย สาร แต่งสี สารแต่งกลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมรวมกัน
6. กรรมวิธีการผลิตโยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (Setyogurt) ตามข้อถือสิทธิ 1 - 5 ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ซึ่ง มีขั้นตอนดังนี้ ก. นำเมล็ดถั่วลูกไก่แช่ในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิ 60 - 80 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 - 4 ชั่วโมง ข. เมื่อครบกำหนดเวลา เติมน้ำสะอาด ในอัตราส่วน ประกอบด้วย เมล็ดถั่วลูกไก่ 1 - 2 ส่วน ต่อน้ำสะอาด 4 - 5 ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดมาปั่นผสมด้วยเครื่องปั่นบดละเอียด ที่ความเร็วรอบ หน้า 2 ของจำนวน 2 หน้า 12,000 - 16,000 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 3 - 5 หน่วยเวลา ได้เป็นน้ำถั่วลูกไก่ จากนั้นกรองด้วย ภาชนะที่มีรูขนาดเล็ก 10 - 50 ไมครอน ค. นำน้ำถั่วลูกไก่ที่ผ่านการกรองจากข้อ ข. มาปรับให้ได้ค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ (Total soluble solids) 12 - 15 องศาบริกซ์ ง. เติมน้ำตาลทรายลงในน้ำถั่วลูกไก่ที่ได้จากข้อ ค. คนจนส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นเนื้อ เดียวกัน และนำไปให้ความร้อน ที่อุณหภูมิ 80 - 90 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 - 2 นาที จ. เติมสารให้ความคงตัว (stabilizer) และสารอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ที่ผสมเข้ากันแล้ว ลงในส่วนผสมที่ได้จากข้อ ง. ที่อุณหภูมิ 70 - 72 องศาเซลเซียส คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ฉ. นำส่วนผสมที่ได้จากข้อ จ. มาให้ความร้อน ที่อุณหภูมิ 80 - 100 องศาเซลเซียส เป็น ระยะเวลา 1 - 2 นาที ช. นำส่วนผสมที่ได้จากข้อ ฉ. มาผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยเครื่องโฮโมจิไนซ์ (homogenizer) ที่ความเร็วรอบ 20,000 - 25,000 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 20 - 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 - 2 นาที ซ. พักส่วนผสมจากข้อ ช. ให้เย็นลง โดยวางทิ้งไว้ให้เย็น ที่อุณหภูมิ 30 - 37 องศาเซลเซียส หรือใช้วิธีการหล่อเย็นด้วยน้ำหรือน้ำแข็ง จนส่วนผสมทั้งหมดมีอุณหภูมิ 35 - 40 องศาเซลเซียส ฌ. เติมหัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria: LAB) ลงในส่วนผสม จากข้อ ซ. คนผสมให้เข้ากัน ญ. นำส่วนผสมที่ได้จากข้อ ฌ. มาบรรจุในบรรจุภัณฑ์ (บรรจุภัณฑ์ต้องลวกน้ำร้อนหรือฆ่า เชื้อก่อน) ปิดปากบรรจุภัณฑ์ให้สนิท ทำการหมักด้วยการบ่ม ที่อุณหภูมิ 40 - 45 องศาเซลเซียส เป็น ระยะเวลา 18 - 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดเวลาจะได้เป็นโยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) ฎ. นำโยเกิร์ตในบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากข้อ ญ. มาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 8 - 10 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาจนถึงผู้บริโภค
7. กรรมวิธีการผลิตโยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (Set yogurt) ตามข้อถือสิทธิ 6 ที่ซึ่ง อาจประกอบ เพิ่มเติมด้วย การเติมสารแต่งสี สารแต่งกลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมรวมกัน ลงในส่วนผสมจากข้อ ฉ. ก่อนนำเข้าเครื่องโฮโมจิไนซ์ (homogenizer)
TH1903003227U 2019-12-17 โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต TH17353C3 (th)

Publications (2)

Publication Number Publication Date
TH17353A3 TH17353A3 (th) 2021-02-17
TH17353C3 true TH17353C3 (th) 2021-02-17

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
CN105941624A (zh) 一种真空冷冻干燥果蔬粉酸奶及其制备方法
CN107637659A (zh) 一种果蔬丁益生菌酸奶及其制备方法
US20130156889A1 (en) Greek yogurt dips and spreads and production thereof
CN109275712A (zh) 一种两吃酸奶及其制备方法
CN106858346A (zh) 一种糯米牛奶布丁及其制备方法
CN105994621A (zh) 一种风味发酵乳及其制备方法
CN102067913B (zh) 部分脱脂干酪及其制备方法
Costa et al. Rheological properties of fermented rice extract with probiotic bacteria and different concentrations of waxy maize starch
JP2014516521A (ja) 凍結可能な乳製品
CA2983018C (en) Method for making a fermented whey protein product
RU2532047C1 (ru) Способ получения мороженого
TH17353C3 (th) โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17353A3 (th) โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
CN103609702A (zh) 一种高稳定性酸性调制乳及其制备方法
TH17351A3 (th) โยเกิร์ตเมล็ดฟักทองแบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17351C3 (th) โยเกิร์ตเมล็ดฟักทองแบบคงตัว (set yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17352A3 (th) โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17352C3 (th) โยเกิร์ตถั่วลูกไก่แบบกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17350A3 (th) โยเกิร์ตเมล็ดฟักทองแบบกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH17350C3 (th) โยเกิร์ตเมล็ดฟักทองแบบกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
CN103392816B (zh) 一种蛋黄酸奶酪的制作方法
RU2710149C1 (ru) Способ получения кисломолочного ацидофильного мороженого
TH15160A3 (th) โยเกิร์ตกะทิผสมเนื้อมะพร้าวชนิดกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH15160C3 (th) โยเกิร์ตกะทิผสมเนื้อมะพร้าวชนิดกวน (stirred yogurt) และกรรมวิธีการผลิต
TH18725A3 (th) โยเกิร์ตถั่ววอลนัทแบบคงตัว(setyogurt)และกรรมวิธีการผลิต