TH29355A - สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับป้องกันการกัดกร่อน - Google Patents

สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับป้องกันการกัดกร่อน

Info

Publication number
TH29355A
TH29355A TH9701001897A TH9701001897A TH29355A TH 29355 A TH29355 A TH 29355A TH 9701001897 A TH9701001897 A TH 9701001897A TH 9701001897 A TH9701001897 A TH 9701001897A TH 29355 A TH29355 A TH 29355A
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
approximately
mixture
coating
weight
mixtures
Prior art date
Application number
TH9701001897A
Other languages
English (en)
Other versions
TH9594B (th
Inventor
เจ. กูห์เด นายโดนัลด์
อี. ดอร์เซ็ทท์ นายเทอรีย์
เอ. โอ เบริ์น นายดีโบราห์
เฮช. กันน์ นายวอลเตอร์
วี. เกอร์มาโน นายวิตเตอร์
Original Assignee
นายโรจน์วิทย์ เปเรร่า
นายธเนศ เปเรร่า
Filing date
Publication date
Application filed by นายโรจน์วิทย์ เปเรร่า, นายธเนศ เปเรร่า filed Critical นายโรจน์วิทย์ เปเรร่า
Publication of TH29355A publication Critical patent/TH29355A/th
Publication of TH9594B publication Critical patent/TH9594B/th

Links

Abstract

DC60 (06/03/43) สิ่งที่ได้รับการเปิดเผยไว้คือสารผสมของสารเคลือบปราศจากโครเมียมที่ทำให้ เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับให้การป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุรองรับ เช่นวัสดุรองรับที่เป็นโลหะ ฟิล์มของสารเคลือบที่เคลือบไว้นั้นต้านทานต่อการกัดกร่อน และสำหรับสิ่งของเคลือบที่มีร่อง เกลียว ตัวอย่างเช่นตัวยึดที่ทำด้วยเหล็กกล้า สารเคลือบนี้จะทำให้มีสารเคลือบชนิดที่ไม่พอก หนาในร่องเกลียว สารผสมของสารเคลือบนี้มีองค์ประกอบที่เป็นโลหะพาร์ติคูเลท เช่น พาร์ติคูเลทของ สังกะสีหรืออาลูมินัมอยู่ด้วย แม้ว่าอาจนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาบรรจุหีบห่อแยกกันได้ก็ตาม โดยทั่วไปสารผสมนี้มักจะอยู่ในรูปสารผสมของสารเคลือบที่บรรจุหีบห่อเดียวเสมอ สารผสมนี้ มีไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นหมู่อินทรีย์ชนิดที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไซเลน ที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซีเป็นสารยึดเหนี่ยว สารผสมนี้มีอายุการเก็บนานที่น่าพึงประสงค์อย่าง ยิ่ง อาจนำสารผสมนี้มาใช้ได้ง่ายตามวิธีการธรรมดา เช่นโดยใช้เทคนิคการจุ่มแล้วปล่อยให้ ส่วนเกินพอไหลออก หรือเทคนิคการจุ่มแล้วปั่นเอาส่วนเกินพอออก และบ่มได้ง่ายที่อุณหภูมิสูง สิ่งที่ได้รับการเปิดเผยไว้คือสารผสมของสารเคลือบปราศจากโครเมียมที่ทำให้ เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับให้การป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุรองรับ เช่นวัสดุรองรับที่เป็นโลหะ ฟิล์มของสารเคลือบที่เคลือบไว้นั้นต้านทานต่อการกัดกร่อน และสำหรับสิ่งของเคลือบที่มีร่อง เกลียว ตัวอย่างเช่นตัวยึดที่ทำด้วยเหล็กกล้า สารเคลือบนี้จะทำให้มีสารเคลือบชนิดที่ไม่พอก หนาในร่องเกลียว สารผสมของสารเคลือบนี้มีองค์ประกอบที่เป็นโลหะพาร์ติคูเลท เช่น พาร์ติคูเลทของ สังกะสีหรืออาลูมินัมอยู่ด้วย แม้ว่าอาจนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาบรรจุหีบห่อแยกกันได้ก็ตาม โดยทั่วไปสารผสมนี้มักจะอยู่ในรูปสารผสมของสารเคลือบที่บรรจุหีบห่อเดียวเสมอ สารผสมนี้ มีไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นหมู่อินทรีย์ชนิดที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไซเลน ที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซี เป็นสารยึดเหนี่ยว สารผสมนี้มีอายุการเก็บนานที่น่าพึงประสงค์อย่าง ยิ่ง อาจนำสารผสมนี้มาใช้ได้ง่ายตามวิธีการธรรมดา เช่นโดยใช้เทคนิคการจุ่มแล้วปล่อยให้ ส่วนเกินพอไหลออก หรือเทคนิคการจุ่มแล้วปั่นเอาส่วนเกินพอออก และบ่มได้ง่ายที่อุณหภูมิสูง

Claims (8)

1. สารผสมของสารเคลือบในตัวกลางที่เป็นน้ำที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ ชนิดที่ปราศจากโครเมียมและคงตัวสำหรับเคลือบและบ่มด้วยความร้อนบนวัสดุรองรับ เพื่อ ทำให้มีการป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุนั้น สารผสมดังกล่าวประกอบด้วย (A) น้ำ : เพื่อทำให้มีตัวกลางที่เป็นน้ำ (B) ของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูง (C) โลหะพาร์ติคูเลท (D) สารทำให้ข้น และ (E) สารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือ จางได้ด้วยน้ำอยู่ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวมของสารผสม 2. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งมีของเหลวที่เป็นสาร อินทรีย์จุดเดือดสูงดังกล่าวอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 1 ถึงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์โดย มีน้ำหนักเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม และของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูงดังกล่าว มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่าและเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่าประมาณ 100 องศาเซล เซียส 3. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ จุดเดือดสูงดังกล่าว เป็นของเหลวออกโซไฮดรอกซีที่เลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยไตร-และ เตตราเอทธิลลีนไกลคอล, ได-และไตรโปรปิลลีนไกลคอล, โมโนเมทธิล, ไดเมทิล และ เอทธิลอีเธอร์ของไกลคอลเหล่านี้ โพลีโปรปิลลีนไกลคอลที่เป็นของเหลว ไดอาซีโตรอัลกอฮอล์ อีเธอร์น้ำหนักโมเลกุลต่ำของไดเอทธิลลีนไกลคอล และของผสมของสารข้างต้น 4. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวคือ ผงโลหะ เกล็ดโลหะ หรือของผสมระหว่างผงโลหะกับเกล็ดผงโลหะ ผงโลหะดังกล่าวมีขนาด อนุภาคในลักษณะที่สารผงทั้งหมดละเอียดมากกว่า 100 เมซ และโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวเป็น สารชนิดหนึ่งหรือมากกว่าที่เป็นสังกะสี อาลูมินัม โลหะผสมและของผสมระหว่างโลหะของ สังกะสีหรืออาลูมินัม และของผสมของสารข้างต้น 5. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งมีสังกะสีพาร์ติคูเลทตั้งแต่ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักถึงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับ น้ำหนักรวมของสารผสม และมีอาลูมินัมพาร์ติคูเลทในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 1.5 ถึงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม 6. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 4 ที่มีทั้งสังกะสีและอาลูมินัม ในอัตราส่วนโดยน้ำหนักของสังกะสีต่ออาลูมินัมไม่เกินกว่าประมาณ1:1 7. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ที่มีสารทำให้ข้น ตั้งแต่ประมาณ 0.05 ถึงประมาณ 2.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของ สารผสม และสารทำให้ข้นดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยสารทำให้ข้นประเภทเซลลู โลส แซนแธนกัม ดินเหนียวดัดแปลง และสารทำให้ข้นที่ได้จากการรวมตัว 8. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 7 ที่มีสารทำให้ขั้นตั้งแต่ประมาณ 0.2 ถึงประมาณ 1.2 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และสารทำให้ข้นดังกล่าวเป็นสารทำให้ข้น ประเภทเซลลูโลสที่เลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยไฮดรอกซีเอทธิลเซลลูโลส, เมทธิล เซลลูโลส, เมทธิลไฮดรอกซีโปรปิล เซลลูโลส, เอทธิลไฮดรอกซี เอทธิลเซลลูโลส, เมทธิลเอทธิลเซลลูโลส และของผสมของสารเหล่านี้ 9. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งไซเลนดังกล่าว คือ สาร หนึ่งหรือของผสมของเบตา (3, 4-อีพอกซีไซโคลเฮกซิล) เอทธิลไตรเนทธอกซีไซเลน, 4( ไตรเนทธอกซีไซลิล) บิวเทน-1, 2-อีพอกไซด์ และแกมมา-ไกลชิคอกซี โปรปิลไตรเมท ธอกซีไซเลน และมีไซเลนดังกล่าวในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 5 ถึงประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม 1 0. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งส่วนผสม (A) , (B), (C), (D) และ (E) ดังกล่าวทั้งหมดอยู่ในหีบห่อเดียวกัน และหีบห่อดังกล่าวมีส่วนเพิ่มเติม ที่ประกอบด้วยสารทำให้เปียก 1 1. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 10 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีสาร ทำให้เปียก ตั้งแต่ประมาณ 0.01 ถึงประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับ น้ำหนักรวมของสารผสม และสารทำให้เปียกดังกล่าวเป็นสารทำให้เปียกที่ไม่ถือประจุ 1 2. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งมีส่วนเพิ่มเติมที่ประกอบด้วย สารประกอบที่มีโบรอน ตั้งแต่ประมาณ 0.1 ถึงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมโดยที่สารประกอบที่มีโบรอนดังกล่าวเลือกได้จาก กลุ่มที่ประกอบด้วยกรดออร์โธบอริค กรดเมตาบอริค กรดเตตราบอริค และโบรอนออกไซด์ รวมทั้งของผสมของสารเหล่านี้ 1 3. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีส่วน เพิ่มเติมที่ประกอบด้วยสารยับยั้งการกัดกร่อนตั้งแต่ประมาณ 0.1 ถึงประมาณ 2.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม โดยที่สารยับยั้งการกัดกร่อนดังกล่าวเลือก ได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยแคลเซียมไนเตรท, ไดเบสิคแอมโมเนียมฟอสเฟต, แคลเซียมซัลโฟ เนตลิเธียมคาร์บอเนท และของผสมของสารเหล่านี้ 1 4. สารผสมของสารเคลือบของข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งสารผสมที่ทำให้เจือจาง ได้ด้วยน้ำดังกล่าวมีน้ำอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 30 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม 1 5. สารผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อของส่วนผสมต่าง ๆ ที่ใช้ทำสารผสม ของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำชนิดที่ปราศจากโครเมียมสำหรับเคลือบและบ่มด้วย ความร้อนบนวัตถุรองรับเพื่อให้การป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุนั้นสารผสมที่ผสมล่วงหน้าบรรจุ หีบห่อดังกล่าวประกอบด้วยของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูง ซึ่งเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่า ประมาณ 100 องศาเซลเซียส สารทำให้เปียกและสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลน ที่มีหมู่ทำ หน้าที่ทีเป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำในปริมาณเพียงพอที่จะมีส่วนอยู่ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักรวมของน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบที่ ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำดังกล่าว 1 6. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งสารผสมดังกล่าวปราศจาก เรซิน มีสารประกอบที่มีโพรอนเพิ่มเติม มีสารผสมที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบดังกล่าวใน ปริมาณตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และมีสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลน ใน ปริมาณตั้งแต่ประมาณ 15 ถึงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้คิดเทียบกับน้ำหนัก รวมของสารผสมบรรจุหีบห่อ 1 7. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งสารประกอบที่มีโบรอน ดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยกรดออร์โธบอริค กรดเมตาบอริค กรดเตตราบอริค โบรอนออกไซด์ รวมทั้งของผสมของสารเหล่านี้ 1 8. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งไซเลนดังกล่าวเป็นสารหนึ่ง หรือของผสมของเบตา -(3,4-อีพอกซีไซโคลเฮกซิล) เอทธิลไตรเมทธอกซีไซเลน 4 (ไดร เมทธอกซีไซลิล) บิวเทน-1, 2อีพอกไซด์ และแกมมาไกลซิดอกซีโปรปิลไตรเมทธอกซีไซ เลน และไซเลนดังกล่าวมีอยู่ในปริมาณที่จะให้ไซเลนดังกล่าว ตั้งแต่ประมาณ 5 ถึงประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลืบที่ทำให้เจือ จางได้ด้วยน้ำ 1 9. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีสารทำให้ เปียกชนิดที่ไม่ถือประจุตั้งแต่ประมาณ 20 ถึงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อคิดเทียบ กับน้ำหนักรวมของสารของหีบห่อ และสารของหีบห่อดังกล่าวถูกนำมาผสมตัวกลางที่เป็น ด้วยน้ำเพื่อเตรียมสารผสมของสารเคลือบดังกล่าว 2 0. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีส่วนเพิ่มเติม ที่ประกอบด้วยสารยับยั้งการกัดกร่อนตั้งแต่ประมาณ 0.5 ถึงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารของหีบห่อ และสารยับยั้งการกัดกร่อนดังกลาวเลือกได้จากกลุ่ม ที่ประกอบด้วยแคลเซียมไนเตรท, ไดเบสิคแอมโมเนียมฟอสเฟต, แคลเซียมซัลโฟเนล ลิเธียมคาร์บอเนต และของผสมของสารเหล่านี้ 2 1. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีส่วนเพิ่มเติม ที่ประกอบด้วยสารทำให้ข้นตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบ กับน้ำหนักรวมของสารของหีบห่อและสารทำให้ข้นดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยสาร ทำให้ข้นประเภทเซลลูโลส แซนแธนกัม ดินเหนียวที่ดัดแปลงแล้ว และสารทำให้ข้นประเภทสาร รวมตัว 2 2. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 15 ซึ่งของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ จุดเดือดสูงดังกล่าวมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่า และสารผสมดังกล่าวถูกนำมา ผสมกับตัวกลางที่เป็นน้ำ และโลหะพาร์ติคูเลทที่เป็นผงโลหะ เกล็ดโลหะ หรือของผสมระหว่าง ผงโลหะกับเกล็ดโลหะเพื่อเตรียมสารผสมของสารเคลือบ 2 3. สารผสมของสารเคลือบที่เตรียมขึ้นโดยการผสมโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าว ของข้อถือสิทธิที่ 22 กับสารผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อดังกล่าวของข้อถือสิทธิที่ 15 และตัวกลาง ที่เป็นน้ำ 2 4. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 23 ซึ่งอนุภาคโลหะดังกล่าวเป็นวัสดุ ชนิดหนึ่งหรือมากกว่าที่เป็นสังกะสี อาลูมินัม โลหะผสมและของผสมระหว่างโลหะของสังกะสี หรืออาลูมินัมและของผสมของสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น 2 5. สารผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อของส่วนผสมต่าง ๆ ที่ใช้ทำสารผสมของ สารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำชนิดที่ปราศจากโครเมียมสำหรับเคลือบ และบ่มด้วยความ ร้อนบนวัสดุรองรับเพื่อให้การป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุนั้น สารผมที่ผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อ ดังกล่าวประกอบด้วยตัวกลางที่เป็นน้ำ กรดบอริค และสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำ หน้าที่เป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ ในปริมาณเพียงพอที่จะมีส่วนอยู่ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของน้ำหนักรวมสำหรับสารผสมของสารเคลือบที่ทำ ให้เจือจางได้ด้วยน้ำดังกล่าว 2 6. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 25 ซึ่งสารผสมดังกล่าวปราศจาก เรซิน ประกอบด้วยสารประกอบที่มีโบรอน ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และมีสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนดังกล่าวในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 15 ถึงประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักซึ่งในทั้งสองกรณีนี้คิดเทียบจากน้ำหนักรวมของสารผสม บรรจุหีบห่อ 2 7. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 25 ซึ่งสารประกอบที่มีโบรอน ดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยกรดออร์โธบอริค, กรดเมตาบอริค, กรดเตตราบอริค, โบรอนออกไซด์ รวมทั้งของผสมของสารเหล่านี้ 2 8. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 27 ซึ่งไซเลนดังกล่าวเป็นสารหนึ่ง หรือของผสมของเบตา (3, 4-อีพอกไซด์โคลเฮกซิล) เอทธิลไตรเมทธอกซีไซเลน 4( ไตร เมทธอกซีไซลิล) บิวเทน-1, 2 อีพอกไซด์ และแกมมาไกลซิดอกซีโปรปิล ไตรเมทธอกซี ไซเลน และไซเลนดังกล่าวมีอยู่ในปริมาณที่ให้ไซเลนดังกล่าว ตั้งแต่ประมาณ 5 ถึงประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือ จางได้ด้วยน้ำ 2 9. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 25 ซึ่งสารผสมดังกล่าวประกอบด้วย สารทำให้เปียกที่ไม่ถือประจุตั้งแต่ประมาณ 10 ถึงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบ กับน้ำหนักรวมของสารของหีบห่อ โดยที่มีสารเพิ่มเติมที่ประกอบด้วยสารยับยั้งการกัดกร่อนตั้งแต่ ประมาณ 0.5 ถึงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารของหีบห่อ และสารยับยั้งการกัดกร่อนดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่ประกอบด้วยแคลเซียมไนเตรท, ไดเบซิค แอมโมเนียมฟอสเฟต, แคลเซียมซัลโฟเนต, ลิเธียมคาร์บอเนต และของผสมของสารเหล่านี้ 3 0. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 25 ซึ่งสารผสมดังกล่าวมีจำนวน เพิ่มเติมที่ประกอบด้วยสารทำให้ขันตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารหีบห่อ และสารทำให้ข้นดังกล่าวเลือกได้จากกลุ่มที่มีประกอบ ด้วยสารทำให้ข้นประเภทเซลลูโลส, แซนแธนกัม, ดินเหนียวที่ดัดแปลงแล้ว และสารที่ทำให้ข้น ประเภทสารรวมตัว 3 1. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 25 ซึ่งมีการผสมสารผสมดังกล่าว กับโลหะพาร์ติคูเลทที่เป็นผงโลหะ เกล็ดโลหะ หรือของผสมระหว่างผงโลหะกับเกล็ดโลหะ เพื่อเตรียมสารผสมของสารเคลือบ 3 2. สารผสมของสารเคลือบที่ทำโดยการผสมโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวของ ข้อถือสิทธิที่ 31 กับสารผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อดังกล่าวของข้อถือสิทธิที่ 25 3 3. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 32 ซึ่งโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวเป็น วัสดุชนิดหนึ่งหรือมากกว่าที่เป็นสังกะสี อาลูมินัม โลหะผสมและของผสมระหว่างโลหะของ สังกะสีหรืออาลูมินัม และของผสมของสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น 3 4. สารผสมล่วงหน้าบรรจุหีบห่อของส่วนผสมต่าง ๆ ที่ใช้ทำสารผสมของ สารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำชนิดที่ปราศจากโครเมียมสำหรับเคลือบและบ่มด้วย ความร้อนบนวัตถุรองรับเพื่อให้การป้องกันการกัดกร่อนแก่วัสดุนั้น สารผสมของสารผสมล่าง หน้าบรรจุหีบห่อดังกล่าวประกอบด้วยของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูงซึ่งเดือดที่อุณหภูมิ สั้นกว่าประมาณ 100 องศาเซลเซียส สารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอก ซี ซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ ในปริมาณเพียงพอที่จะมีส่วนอยู่ ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วย น้ำดังกล่าว และโลหะพาร์ติคูเลท 3 5. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 34 ซึ่งไซเลนดังกล่าวเป็นสารหนึ่ง หรือของผสมของเบตา (3, 4-อีพอกซีไซด์โคลเฮกซิล) เอทธิลไตรเมทธอกซีไซเลน, 4(ไตร เมทธอกซีไซลิล) บิวเทน-1, 2 อีพอกไซด์ และแกมมาไกลซิดอกซีโปรปิลไตรเมทธอกซีเลน และไซเลนดังกล่าวมีอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 20 ถึงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมบรรจุหีบห่อ 3 6. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 34 ซึ่งของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ จุดเดือดสูงดังกล่าวมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่า ของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุด เดือดสูงดังกล่าวมีอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 20 ถึงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อ เทียบกับน้ำหนักรวมของสารบรรจุหีบห่อดังกล่าว และโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวคือวัสดุชนิดหนึ่ง หรือมากกว่าที่เป็นผงโลหะ เกล็ดโลหะหรือของผสมของผงโลหะและเกล็ดโลหะ 3 7. สารผสมบรรจุหีบห่อของข้อถือสิทธิที่ 34 ซึ่งโลหะพาห์ติคูเลทดังกล่าวคือ วัสดุชนิดหนึ่งหรือมากกว่าที่เป็นเกล็ดสังกะสี เกล็ดอาลูมินัม หรือโลหะผสม หรือของผสม ระหว่างโลหะของเกล็ดสังกะสีหรือเกล็ดอาลูมินัมดังกล่าว 3 8. วัสดุรองรับเคลือบแล้วที่ได้รับการป้องกันด้วยสารเคลือบต่อต้านการกัด กร่อนชนิดที่ปราศจากโครเมียมที่มีโลหะพาร์ติคูเลทเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารเคลือบติดแน่นบน วัสดุรองรับดังกล่าวได้โดยการบ่มโดยการทำให้ร้อนแก่สารผสมของสารเคลือบที่เคลือบใช้ ซึ่งประกอบด้วยของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง โลหะพาร์ติคูเลท สารทำให้ข้นและ สารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่อีพอกซีซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำอยู่ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของน้ำหนักรวมของสารผสม โดยที่ทั้งหมดนี้อยู่ใน ตัวกลางที่เป็นน้ำ 3 9. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งสารเคลือบดังกล่าวทำขึ้น จากสารผสมบรรจุหีบห่อแบบหีบห่อเดียว และมีอยู่ในปริมาณที่จะให้สารเคลือบบ่มแล้วตั้งแต่ ประมาณ 500 ไปจนถึง 5000 มิลลิกรัม/ตารางฟุต บนวัสดุรองรับดังกล่าว โดยที่สารเคลือบ ดังกล่าวมีโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 400 ขึ้นไปจนถึงประมาณ 4500 มิลลิกรัม/ตารางฟุตของสารเคลือบที่บ่มแล้ว 4 0. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งสารเคลือบที่เคลือบไว้ได้ รับการบ่มด้วยความร้อนบนวัสดุรองรับดังกล่าวโดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิภายในช่วงตั้งแต่ ประมาณ 400 องศาฟาห์เรนไฮท์ถึงประมาณ 650 องศาฟาห์เรนไฮท์เป็นเวลาอย่างน้อย ประมาณ 5 นาที 4 1. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิ 38 ซึ่งการบ่มของสารเคลือบ ดังกล่าวบนวัสดุรองรับดังกล่าวรวมถึงการทำให้แห้งเป็นเวลาตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 25 นาที ที่อุณหภูมิไม่เกินกว่าประมาณ 250 องศาฟาห์เรนไฮท์ 4 2. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งวัสดุรองรับดังกล่าวคือ วัสดุรองรับที่เป็นโลหะที่รวมถึงวัสดุรองรับที่เป็นเหล็กกล้าหรือสังกะสี 4 3. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งวัสดุรองรับดังกล่าว คือ วัสดุรองรับที่เป็นโลหะที่ได้รับการกระทำล่วงหน้าซึ่งมีสารเคลือบของการกระทำล่วงหน้า ของสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าของเหล็กฟอสเฟต หรือสังกะสีฟอสเฟต 4 4. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 43 ซึ่งมีสารเคลือบที่เป็นเหล็ก ฟอสเฟตดังกล่าวอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 50 ถึงประมาณ 100 มิลลิกรัม/ตารางฟุต และมี สารเคลือบที่เป็นสังกะสีฟอสเฟตดังกล่าวอยู่ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 200 ถึงประมาณ 2000 มิลลิกรัม/ตารางฟุต 4 5. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งมีสารเคลือบดังกล่าวถูก ทำให้ติดแน่นโดยการบ่มสารผสมของสารเคลือบที่มีของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูงที่มี น้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่า และเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่าประมาณ 100 องศา เซลเซียส 4 6. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งวัสดุรองรับเคลือบแล้ว ดังกล่าวได้รับการเคลือบทับเพิ่มเติมด้วยสารผสมเคลือบทับที่จัดว่าปราศจากเรซินที่บ่มได้เป็น สารเคลือบป้องกันที่ต้านทานน้ำ และมีสารประเภทซิลิการในตัวกลางที่เป็นของเหลว ที่เคลือบ ไว้ในปริมาณเพียงพอที่จะทำให้ได้สารประเภทซิลิคาในสารเคลือบที่บ่มแล้วสูงกว่าประมาณ 50 มิลลิกรัมต่อตารางฟุตของวัสดุรองรับที่เคลือบแล้ว 4 7. วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 46 ซึ่งสารเคลือบทับดังกล่าว ได้รับการบ่มโดยการทำให้ร้อนที่อุณหภูมิภายในช่วงตั้งแต่ประมาณ 150 องศาฟาห์เรนไฮท์ถึง ประมาณ 1000 องศาฟาห์เรนไฮท์เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 10 นาที สารเคลือบทับ ดังกล่าวทำให้มีสารซิลิกาดังกล่าวจัดว่าไม่สูงกว่าประมาณ 2000 มิลลิกรัม/ตารางฟุต ใน สารเคลือบที่บ่มแล้ว และสารเคลือบทับดังกล่าวทำให้มีสารซิลิกาจากสารชนิดหนึ่งหรือมาก กว่าที่เป็นซิลิคาคอลลอยด์, ซิเคทอินทรีย์ และซิลิเคทอนินทรีย์ 4 8.วัสดุรองรับเคลือบแล้วของข้อถือสิทธิที่ 38 ซึ่งวัสดุรองรับเคลือบแล้ว ได้รับการเคลือบทับด้วยสารผสมเคลือบทับที่เป็นวัสดุชนิดหนึ่งหรือมากกว่าที่ประกอบด้วยสีรอง พื้นที่เคลือบด้วยไฟฟ้า สารเคลือบชนิดที่สะสมได้ด้วยตัวเอง หรือสารเคลือบทับที่เคลือบโดย วิธีการเคลือบแบบทำให้เย็นลง 4 9. วิธีการเตรียมวัสดุรองรับเคลือบแล้วที่ต้านทานต่อการกัดกร่อนที่ได้รับ การป้องกันด้วยสารผสมของสารเคลือบที่ปราศจากโครเมียม มีโลหะพาร์ติคูเลทและทำให้เจือจาง ได้ด้วยน้ำ ซึ่งวิธีการประกอบด้วยการใช้สารผสมของสารเคลือบดังกล่าวที่เป็นสารผสมที่มี โลหะพาร์ติคูเลท ที่นอกจากจะมีโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวแล้วยังมีของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือด สูง สารทำให้ข้น และสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือจาง ได้ด้วยน้ำ อยู่ตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ของน้ำหนักรวมของ สารผสมทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในตัวกลางที่เป็นน้ำ โดยที่มีสารใช้สารผสมของสารเคลือบ ดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอที่จะทำให้ได้สารเคลือบหลังการบ่มสูงกว่าประมาณ 500 แต่จัด ว่าไม่สูงกว่าประมาณ 5000 มิลลิกรัม/ตารางฟุตบนวัสดุรองรับดังกล่าว และการบ่มสารผสม ของสารเคลือบดังกล่าวที่เคลือบไว้บนวัสดุรองรับดังกล่าวด้วยความร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงกว่า ประมาณ 650 องศาฟาห์เรนไฮท์เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 5 นาที 5 0. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งมีการใช้สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้ เจือจางได้ด้วยน้ำดังกล่าวในรูปสารผสมหีบห่อเดียวในตัวกลางที่เป็นน้ำที่มีอยู่ในปริมาณตั้งแต่ ประมาณ 30 ถึงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และที่มีสารช่วยให้เปียกไม่เกินกว่า ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก โดยที่ทั้งสองกรณีนี้คิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสม 5 1. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งสารเคลือบดังกล่าวได้รับการบ่มที่อุณหภูมิ ภายในช่วงตั้งแต่ประมาณ 400 องศาฟาห์เรนไฮท์ถึงประมาณ 650 องศาฟาห์เรนไฮท์เป็น เวลาไม่เกินกว่าประมาณ 40 นาที 5 2. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งสารเคลือบดังกล่าวก่อนการบ่มมีการทำให้ แห้งเป็นเวลาตั้งแต่ประมาณ 2 ถึงประมาณ 25 นาทีที่อุณหภูมิไม่เกินกว่าประมาณ 250 องศา ฟาห์เรนไฮท์ 5 3. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งมีการใช้สารผสมของสารเคลือบดังกล่าว ที่มีของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูง ที่มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่า และมี จุดเดือดสูงประมาณ 100 องศาเซลเซียส 5 4. วัสดุรองรับประเภทโลหะเคลือบแล้วที่เตรียมขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิ ที่49 5 5. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งมีการใช้สารผสมของสารเคลือบดังกล่าว ลงไปยังวัสดุรองรับประเภทโลหะที่ได้รับการกระทำล่วงหน้าที่มีสารเคลือบของการกระทำล่วงหน้าที่ประกอบด้วย 5 6. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 55 ซึ่งมีสารเคลือบที่เป็นเหล็กฟอสเฟตดังกล่าว ในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 50 ถึงประมาณ 100 มิลลิกรัม/ตารางฟุต และมีสารเคลือบที่เป็น สังกะสีฟอสเฟตดังกล่าวในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 200 ถึงประมาณ 2000 มิลลิกรัม/ตารางฟุต 5 7. วัสดุรองรับประเภทโลหะเคลือบแล้วที่เตรียมขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิ ที่ 55 5 8. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งมีการใช้สารเคลือบทับบนสารเคลือบดังกล่าว ซึ่งสารเคลือบทับเป็นสารผสมที่จัดว่าปราศจากเรซินที่ถูกบ่มบนสารเคลือบดังกล่าวจนเป็นสาร เคลือบป้องกันที่ต้านทานน้ำ และสารผสมดังกล่าวประกอบด้วยสารผสมประเภทซิลิกาในตัวกลาง ที่เป็นของเหลว สารเคลือบทับดังกล่าวมีอยู่ในปริมาณเพียงพอที่จะทำให้มีสารประเภทซิลิกาใน สารเคลือบที่บ่มแล้วมากกว่าประมาณ 50 มิลลิกรัม/ตารางฟุตของวัสดุรองรับที่เคลือบแล้ว 5 9. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 58 ซึ่งสารเคลือบทับดังกล่าวถูกบ่มโดยการให้ ความร้อนที่อุณหภูมิภายในช่วงตั้งแต่ประมาณ 150 องศาฟาห์เรนไฮท์ถึงประมาณ 1000 องศา ฟาห์เรนไฮท์เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 10 นาที และมีการใช้สารเคลือบทับในปริมาณเพียง พอที่จะให้สารประเภทซิลิกาดังกล่าวในสารเคลือบทับที่บ่มแล้วจัดว่าไม่มากกว่าประมาณ 2000 มิลลิกรัม/ตารางฟุต 6 0. วัสดุรองรับประเภทโลหะเคลือบแล้วที่เตรียมขึ้นโดยวิธีการของข้อถือ สิทธิ 58 6 1. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 49 ซึ่งมีการใช้สารเคลือบทับบนสารเคลือบ ดังกล่าว ซึ่งสารเคลือบทับทำให้มีสารเคลือบป้องกันที่เป็นวัสดุหนึ่งชนิดหรือมากกว่าที่ประกอบ ด้วยสีรองพื้นที่เคลือบด้วยไฟฟ้า สารเคลือบชนิดที่สะสมได้ด้วยตัวเอง หรือสารเคลือบทับที่ เคลือบโดยวิธีการ เคลือบแบบที่ทำให้เย็นลง 6 2. วัสดุรองรับประเภทโลหะเคลือบแล้วที่เตรียมขึ้นโดยวิธีการของข้อถือ สิทธิที่ 61 6 3. วิธีการของการเตรียมสารผสมของสารเคลือบที่ปราศจากโครเมียมชนิด ที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำเพื่อการเคลือบ และการบ่มด้วยความร้อนบนวัสดุรองรับเพื่อให้ความ ต้านทานการกัดกร่อนแก่วัสดุนั้น ซึ่งวิธีการประกอบด้วยการผสมของผสมของสารต้นกำเนิด ของของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์จุดเดือดสูง สารทำให้เปียกและโลหะพาร์ติคูเลท แล้วผสม ของผสมของสารต้นกำเนิดที่ได้กับสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำ 6 4. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 63 ซึ่งมีการผสมของผสมของสารต้นกำเนิด ของของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 400 หรือต่ำกว่าและเดือดที่อุณหภูมิ สูงกว่าประมาณ 100 องศาเซลเซียลเข้าด้วยกันกับโลหะพาร์ติคูเลทที่ประกอบด้วยโลหะที่ทำ ให้เป็นผง หรือโลหะที่ทำให้เป็นเกล็ดหนึ่งชนิดหรือมากกว่าและสารทำให้เปียกที่ไม่ถือประจุ 6 5. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 64 ซึ่งมีการผสมของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ ดังกล่าวตั้งแต่ประมาณ 25 ถึงประมาณ 40 ส่วนโดยน้ำหนัก สารทำให้เปียกดังกล่าวตั้งแต่ ประมาณ 4 ถึงประมาณ 8 ส่วนโดยน้ำหนัก โดยที่ส่วนที่เหลือเป็นโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าว เมื่อคิดเทียบกับ 100 ส่วนโดยน้ำหนักของของผสมต้นกำเนิดดังกล่าว และผสมของผสมต้น กำเนิดเข้าด้วยกันโดยการบด 6 6. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 63 มีการเติมตัวกลางที่เป็นน้ำลงไปในสารผสม ของสารเคลือบดังกล่าวเพื่อให้ได้ปริมาณของตัวกลางที่เป็นน้ำในสารผสมที่มีน้ำเป็นตัวกลาง ที่ได้ ตั้งแต่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักถึงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก 6 7. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 63 มีการผสมสารทำให้เปียกดังกล่าวกับของ เหลวที่เป็นสารอินทรีย์ดังกล่าว แล้วผสมโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าวลงไปในนั้นเพื่อทำให้เกิด ของผสมของสารต้นกำเนิดดังกล่าว และมีการผสมสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนลงไปในนั้น ในปริมาณเพียงพอที่จะทำให้มีสารยึดเหนี่ยวดังกล่าวตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์ เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบ 6 8. สารผสมของสารเคลือบที่ทำขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิที่ 67 ที่เตรียม ขึ้นในรูปสารผสมของสารเคลือบแบบหีบห่อเดียว 6 9. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 63 ซึ่งมีการผสมสารทำให้ข้นเข้ากับของผสม ของสารต้นกำเนิดดังกล่าวในปริมาณเพียงพอที่จะทำให้มีสารทำให้ข้นดังกล่าวตั้งแต่ประมาณ 0.05 ถึงประมาณ 2.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสาร เคลือบดังกล่าว 7 0. สารผสมของสารเคลือบที่ทำขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิที่ 69 7
1. วิธีการเตรียมสารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำชนิดที่ปราศ จากโครเมียมสำหรับเคลือบและบ่มด้วยความร้อนบนวัสดุรองรับเพื่อให้การป้องกันการกัดกร่อน แก่วัสดุนั้น ซึ่งวิธีการประกอบด้วยการเตรียมของผสมล่วงหน้า เป็นขั้นแรกโดยการผสมของผสม ที่ประกอบด้วยของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง สารทำให้เปียก และสารยึดเหนี่ยว ประเภทไซเลนที่มีหมู่ทำหน้าที่เป็นอีพอกซี ซึ่งทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำเข้าด้วยกัน แล้วผสม โลหะพาร์ติคูเลทเข้ากับของผสมล่วงหน้าที่ได้ 7
2. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 71 ซึ่งมีการผสมสารทำให้เปียกดังกล่าว ตั้งแต่ ประมาณ 20 ถึงประมาณ 30 ส่วนโดยน้ำหนัก สารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลนดังกล่าวตั้งแต่ ประมาณ 40 ถึงประมาณ 60 ส่วนโดยน้ำหนักของเหลวที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 400 หรือต่ำกว่าและเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่าประมาณ 100 องศาเซลเซียสตั้งแต่ประมาณ 20 ถึงประมาณ 30 ส่วนโดยน้ำหนักเข้าด้วยกัน และในขั้นต่อไปมีการผสมสารผสมนี้ 100 ส่วน โดยน้ำหนักกับตัวกลางที่เป็นน้ำตั้งแต่ประมาณ 30 ถึงประมาณ 60 ส่วนโดยน้ำหนัก 7
3. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 71 ซึ่งมีการผสมของผสมล่วงหน้าที่ผสมไว้ ล่วงหน้าที่มีส่วนเพิ่มเติมที่ประกอบด้วยสารที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบในปริมาณตั้งแต่ประมาณ 3 ถึงประมาณ 6 ส่วนโดยน้ำหนักของสารประกอบที่มีโบรอนดังกล่าวเทียบกับน้ำหนักของ สารผสมล่วงหน้าดังกล่าว 7
4. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 71 ซึ่งมีการเก็บสารผสมดังกล่าวให้มีอายุเป็น เวลาตั้งแต่ประมาณ 1 ชั่วโมงถึงประมาณ 7 วันก่อนการผสมกับโลหะพาร์ติคูเลทดังกล่าว 7
5. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 71 ซึ่งมีการผสมสารยึดเหนี่ยวประเภทไซเลน ในปริมาณเพียงพอที่จำทำให้มีสารยึดเหนี่ยวดังกล่าวประมาณ 3 ถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเมื่อคิดเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือางด้วยน้ำได้ ดังกล่าว 7
6. สารผสมของสารเคลือบที่ทำขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิที่ 75 ที่เตรียม ขึ้นในรูปสารผสมของสารเคลือบบรรจุหีบห่อเดียว 7
7. วิธีการของข้อถือสิทธิที่ 71 ซึ่งมีการผสมสารทำให้ข้นเข้ากับของผสม ล่วงหน้าดังกล่าวในปริมาณเพียงพอที่จะทำให้มีสารทำให้ข้นดังกล่าวตั้งแต่ประมาณ 0.05 ถึง ประมาณ 2.0 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับน้ำหนักรวมของสารผสมของสารเคลือบ 7
8. สารผสมของสารเคลือบที่ทำขึ้นโดยวิธีการของข้อถือสิทธิที่ 77
TH9701001897A 1997-05-19 สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับป้องกันการกัดกร่อน TH9594B (th)

Publications (2)

Publication Number Publication Date
TH29355A true TH29355A (th) 1998-07-30
TH9594B TH9594B (th) 2000-05-31

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
RU97107804A (ru) Композиция покрытия, упаковка (варианты), подложка с покрытием, способ получения подложки, способ получения композиции покрытия (варианты)
KR970074873A (ko) 부식방지를 제공하기 위한 수 환원성 코팅 조성물
US6270884B1 (en) Water-reducible coating composition for providing corrosion protection
CN101792285B (zh) 无铬环保环氧防腐底漆
CN101633808B (zh) 含不锈钢鳞片的高氯化聚乙烯涂料及其制备方法
US6638628B2 (en) Silicate coating compositions
EA014856B1 (ru) Связующее, средство для покрытия и деталь с покрытием
CN104861821A (zh) 一种防腐的散热涂料及其制备方法
CN100424143C (zh) 一种耐蚀锌基铝镁稀土合金涂料及其制备方法
CN106009799A (zh) 一种含有石墨烯的无机锌粉底漆及制备方法
CN107841175A (zh) 一种耐摩擦的无铬达克罗涂料
JP2002121485A5 (th)
JP4938167B2 (ja) 錆止めを施すための水−希釈可能なコーティング組成物
CN106085124A (zh) 一种高防腐性能环氧铁红底漆
TH29355A (th) สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับป้องกันการกัดกร่อน
TH9594B (th) สารผสมของสารเคลือบที่ทำให้เจือจางได้ด้วยน้ำสำหรับป้องกันการกัดกร่อน
CN106867357A (zh) 一种纳米改性高固体分环氧底漆
CA1204587A (en) Coating composition
CN104046193B (zh) 一种纳米改性可剥型临时保护涂料及其制备方法
EP1199339A1 (en) Water-reducible coating composition for providing corrosion protection
JPS6051756A (ja) 防錆塗料組成物
CN110041802A (zh) 一种水性石墨烯防腐隔热涂料及其制备方法
CN109423081A (zh) 一种金属防护涂料的制造方法及其用途
KR101316603B1 (ko) 금속 방부식용 수성 아연도료
JPH0446932A (ja) ジンクリッチペイント用樹脂組成物