TH4201B - กรรมวิธีและเครื่องใช้ในการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์ - Google Patents

กรรมวิธีและเครื่องใช้ในการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์

Info

Publication number
TH4201B
TH4201B TH8701000222A TH8701000222A TH4201B TH 4201 B TH4201 B TH 4201B TH 8701000222 A TH8701000222 A TH 8701000222A TH 8701000222 A TH8701000222 A TH 8701000222A TH 4201 B TH4201 B TH 4201B
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
convex ring
strands
line
axis
attachment
Prior art date
Application number
TH8701000222A
Other languages
English (en)
Other versions
TH5360EX (th
TH5360A (th
Inventor
โลรังต์ นายแดเนียล
เมเยต์ นายจีนคลอด
Original Assignee
นายดำเนิน การเด่น
นายดำเนิน การเด่น นายวิรัช ศรีเอนกราธา
นายวิรัช ศรีเอนกราธา
Filing date
Publication date
Application filed by นายดำเนิน การเด่น, นายดำเนิน การเด่น นายวิรัช ศรีเอนกราธา, นายวิรัช ศรีเอนกราธา filed Critical นายดำเนิน การเด่น
Publication of TH5360EX publication Critical patent/TH5360EX/th
Publication of TH5360A publication Critical patent/TH5360A/th
Publication of TH4201B publication Critical patent/TH4201B/th

Links

Abstract

การผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงให้กับยางรถยนต์ประกอบด้วยขั้นตอนของ (ก) การนำเส้นวัสดุที่ยาวต่อเนื่องไปเกี่ยวเข้าไว้กับอุปกรณ์ยึดที่มีอยู่ในวงกลมสองวงซึ่งอยู่ห่างจากกันในอัตราที่เท่ากับความยาวของเส้นจากด้านหนึ่งของส่วนเสริมความแข็งแรงไปสู่อีกด้านหนึ่งเพื่อว่าเส้นที่จัดไว้ในลักษณะนี้จะได้กำหนดขึ้นเป็นกระบอกจากการที่ได้พันไปมาอยู่ระหว่างอุปกรณ์ยึดชุดหนึ่งไปสู่อีกชุดหนึ่ง (ข) การเคลื่อนที่อย่างเหมาะสมของอุปกรณ์ยึดทำให้เส้นวัสดุที่จัดเไว้พับตัวกลับเข้าโดยรอบแกนที่กำหนดเป็นรูปทรงของยางรถยนต์ด้านผิวใน (ค) การตรึงเส้นเสริมความแข็งแรงไว้ จากนั้นก็ปล่อยอุปกรณ์ยึดออกจากการยึด

Claims (9)

1. กรรมวิธีของการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์จากเส้นวัสดุยาวต่อเนื่อง ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ก) เส้นยาวต่อเนื่อง (4) ได้ถูกเกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์ยึด(3) ที่มีอยู่ในวงกลมสองวงซึ่งอยู่ห่างจากกันในอัตราที่เท่ากับความยาวของเส้นทางจากด้านหนึ่งของส่วนเสริมความแข็งแรงไปยังอีกด้านหนึ่งเพื่อว่าเส้นวัสดุที่ถูกจัดไว้ในลักษณะนี้จะได้กำหนดขึ้นเป็นกระบอกจากการขดตัวไปมาระหว่างอุปกรณ์ยึดชุดหนึ่งไปสู่อีกชุดหนึ่ง (ข) จากการเคลื่อนตัวอย่างเหมาะสมของอุปกรณ์ยึด (3) เส้นวัสดุ (4) ที่ได้ถูกจัดไว้ในลักษณะนี้ก็จะถูกพับกลับและพันเข้าโดยรอบแกนแข็ง (7) ที่กำหนดเป็นรูปทรงของยางรถยนต์ส่วน ผิวด้านใน (ค) ตรึงเส้นวัสดุ (4) ให้อยู่กับที่แล้วจึงปล่อยอุปกรณ์ยึด (3) ออกจากการยึด
2. กรรมวิธีของการผลิตยางรถยนต์ที่ประกอบด้วยส่วนเสริมความแข็งแรงอย่างน้อยชั้นหนึ่งที่ผลิตขึ้นมาจากเส้นที่ยาวต่อเนื่อง ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ก) ยางชั้นหนึ่งหรือมากกว่าถูกนำมาหุ้มแกนแข็ง (7) ซึ่งกำหนดเป็นรูปทรงของยางรถยนต์ส่วนผิวด้านในไว้ และเส้นที่ยาวต่อเนื่อง (4) ก็ถูกนำมาเกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์ยึด (3)ที่มีอยู่ในวงกลมสองวงซึ่งอยู่ห่างจากกันเป็นระยะทางที่เท่ากับความยาวของเส้นจากปลายด้านหนึ่งของส่วนเสริมความแข็งแรงไปยังอีกด้านหนึ่ง เพื่อที่จะทำให้เส้นวัสดุที่ถูกจัดไว้ในลักษณะนี้จะได้กำหนดเป็นกระบอกที่ประกอบด้วยเส้นที่พันไปพันมาอยู่ระหว่างอุปกรณ์ยึดชุดหนึ่งไปยังอีกชุดหนึ่ง (ข) แกนแข็ง (7) ถูกนำสอดเข้าไว้ภายในกระบอก (ค) จากการเคลื่อนที่อย่างเหมาะสมของอุปกรณ์ยึด (3) เส้นวัสดุ (4) ที่ถูกจัดไว้ในลักษณะนี้ก็จะถูกพับกลับไปโดยรอบแกนแข็ง (7) (ง) ตรึงเส้นวัสดุ (4) ให้อยู่กับที่แล้วจึงปล่อยอุปกรณ์ยึด (3) ออกจากการยึด (จ) การผลิตยางรถยนต์ ดำเนินต่อไป
3. กรรมวิธีตามข้อถือสิทธิข้อ 2 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ว่าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรึงประกอบด้วยวงแหวนนูน (BEAD RING)(45)
4. กรรมวิธีตามข้อถือสิทธิข้อ 3 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ว่าการตรึงเส้นวัสดุประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ก) ในระหว่างการพับอุปกรณ์ยึด (3) แต่ละชุดก็จะเริ่มทำให้เกิดเป็นวง (400) ขึ้นกับเส้นวัสดุ (4) ในบริเวณที่เส้นวัสดุ (4) ออกไปสู่อุปกรณ์ยึด (3) ทางด้านที่อยู่ตรงข้ามกันในแนวแกน (ข) อย่างน้อยที่สุดวง (400) ที่เกิดขึ้นดังกล่าวบางวงจะถูกปิดลงที่ระดับโดยรอบด้านนอกของอุปกรณ์ยึด (3) (ค) อุปกรณ์จัดรูปถูกนำไปสอดเข้าไว้ในวง (400) ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจำนวนหลายรอบ (ง) รอบของอุปกรณ์จัดรูปต่างถูกยึดเข้ากันไว้เพื่อร่วมกันทำหน้าที่เป็นวงแหวนนูน (BEAD RINF) (45)
5. เครื่องที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ที่ประกอบด้วยส่วนเสริมความแข็งแรงที่ทำมาจากเส้นใยที่ยาวต่อเนื่องอย่างน้อยชั้นหนึ่งมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นด้วย (ก) แขนรับ (2) เป็นจำนวนสองวง (1) ซึ่งส่วนปลายด้านในตามแนวแกน (20) สามารถที่จะถูกแทนที่ได้ตามแนวแกนและแนวโดยรอบและทำหน้าที่รับอุปกรณ์ยึด (3) เส้นวัสดุ (4) ไว้ด้วย (ข) แขนหมุน (5) ซึ่งแกนของการหมุนอยู่ในแนวตั้งฉากอยู่กับแนวของวงแขนรับ (1) โดยได้รับการจัดไว้ในบริเวณตอนกลางระหว่างอุปกรณ์ยึด (3)ทั้งนี้โดยแขนหมุนทำหน้าที่รับอุปกรณ์จัดส่งไว้เพื่อให้สามารถที่จะเกี่ยวกับเส้นวัสดุ (4) เข้ากับอุปกรณ์ยึด (3)ในแต่ละครั้งของแขนหมุน (5) ที่เคลื่อนที่ผ่านและวงแขนรับ(1) ทั้งสองก็จะหมุนไปเป็นมุมที่เท่ากับระยะทางระหว่าง อุปกรณ์ยึด (3) สองชุดที่อยู่ใกล้กันในแต่ละครั้งของการเคลื่อนที่ผ่านของแขนหมุน (5)เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ (ค) อุปกรณ์ที่เปิดโอกาสให้สามารถสอดแกนแข็ง (7) เข้าไปในกระบอกที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ยึด (3)
6. แขนหมุน (5) ถูกจัดไว้ให้อยู่ห่างรอบนอกของกระบอกซึ่งถูกกำหนดไว้โดยอุปกรณ์ยึด (3) เส้นวัสดุ (4)
7. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 หรือ 6 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตำแหน่งการจัดวางแขนรับ (2) เมื่อแขนหมุน (58) ผ่านไปได้รับการกำหนดขึ้นไว้ด้วยร่องเกลียว (60) บนแขนรับ (2)
8. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 7 ข้อใดข้อหนึ่ง มีลักษณะพิเศษอยู่ที่อุปกรณ์จัดส่งประกอบด้วยรูส่งออก (52)สำหรับเส้นวัสดุ (4) ที่จัดให้ไว้ทางด้านปลายของแขนหมุน(5) ค่อนไปทางด้านหลังจากทิศทางของการหมุนตัว
9. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 8 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ในส่วนด้านหลังจากทิศทางแห่งการหมุน แขนหมุน (5) ยังได้ประกอบด้วย - เดือย (53, 53a) ที่อยู่ระหว่างด้านปลายกับจุดศูนย์กลางเพื่อทำหน้าที่ยกเส้นวัสดุขึ้นเมื่อเส้นวัสดุโผล่ขึ้นมาจากรู (52) - อุปกรณ์ (54) รักษาระดับความตึงของเส้นวัสดุ ซึ่งอยู่ที่จุดศูนย์กลาง 1
0. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 9 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่เดือย(53a) ได้ถูกยกขึ้นด้วยการทำงานของแท่ง (530a) ที่ได้รับแรงกระตุ้นจากลูกเบี้ยว (531a) 1
1. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 10 ข้อใดข้อหนึ่งมีลักษณะพิเศษอยู่ที่อุปกรณ์ยึด (3) เส้นประกอบขึ้นด้วยตะขอสองชุด (1, 32 หรือ 31a, 32a) โดยชุดหนึ่งทำหน้าที่เกี่ยวเส้นวัสดุที่ถูกส่งมาให้โดยแขนหมุน และอีกชุดหนึ่งเริ่มการจัดเป็นวงเมื่อเส้นวัสดุพับตัว 1
2. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 11 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่จุด(310, 320) ปลายของตะขอได้ถูกจัดไว้ให้เบนไปในทิศทางตรงข้ามกันตามแนวแกน 1
3. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 11 มีลักษณะพิเศษอยู่ที่จุด(310a, 320a) ปลายของตะขอได้ถูกจัดไว้ให้เบนไปในทิศทางตรงข้ามกันตามแนวแกน 1
4. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 13 ข้อใดข้อหนึ่งมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ยังได้ประกอบด้วยอุปกรณ์ (8) อีกสองชุดที่ใช้เมื่อเส้นวัสดุได้ถูกตรึงเข้ากับวงแหวนนูน (45)โดยอุปกรณ์ดังกล่าวแต่ละชุดต่างก็ประกอบด้วยชิ้นส่วน (80)เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ในแนวแกนพร้อมๆ กันโดยชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกอบด้วย - แท่งตรง (81) ที่ขนานกับแกนแท่งการหมุนของยางรถยนต์เพื่อทำหน้าที่ในการนำวงแหวนนูนที่ได้สอดเข้าไปในเส้นวัสดุที่ม้วนตัวเป็นวงออกสู่ภายนอกของอุปกรณ์ยึด - ส่วนที่เป็นนิ้วแกว่ง (82) ที่เปิดโอกาสให้อุปกรณ์ยึดปล่อยการยึดของเส้นวัสดุ 1
5. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 13 ข้อใดข้อหนึ่งมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ยังได้ประกอบด้วยอุปกรณ์ (8) อีกสองชุดที่ใช้เมื่อเส้นวัสดุได้ถูกตรึงเข้ากับวงแหวนนูน โดย อุปกรณ์ดังกล่าวแต่ละชุดต่างก็ประกอบด้วยใบมีด (85a) อยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถเคลื่อนที่ได้พร้อมๆ กันในแนวแกนและแนวโดยรอบ และใบมีดแต่ละชุดก็มีร่อง (850a) สำหรับการนำวง แหวนนูนที่ได้สอดเข้าไว้ในเส้นวัสดุที่ม้วนเป็นวงออกสู่ภายนอกของอุปกรณ์ยึดและเปิดโอกาสให้อุปกรณ์ยึดปล่อยเส้นวัสดุออก 1
6. เครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 15 ข้อใดข้อหนึ่งมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ว่าอุปกรณ์ทีเปิดโอกาสให้มีการสอดตัวของแกนแข็งเกิดขึ้นจาก - ช่องว่าง (70) ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของแกนซึ่งอยู่ทางด้านในของวงแขนรับวงใดวงหนึ่ง- ระบบ (71) สำหรับการเดินหน้า (ถอยหลัง) ของแกนเข้าหา(และออกจาก) ตำแหน่งระหว่างอุปกรณ์ยึด 1
7. กรรมวิธของการผลิตยางรถยนต์ที่มีส่วนเสริมความแข็งแรงซึ่งทำมาจากเส้นวัสดุยาวต่อเนื่องด้วยเครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 5 ถึงข้อ 16 ข้อใดข้อหนึ่ง มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ (ก) ปลายอิสระของเส้น (4) ได้ถูกควบคุมไว้ในบริเวณของอุปกรณ์ยึด (3) ซึ่งแขนหมุน (5) ผละขึ้นไปทางด้านหลังและแขนหมุน (5) จัดทำส่วนเสริมความแข็งแรง ด้วยการเกี่ยวเส้น(4) เข้ากับอุปกรณ์ยึด (3) ทุกชุดโดยทำให้เกิดการพันเป็นจำนวนรอบที่เท่ากับจำนวนของอุปกรณ์ยึด (3) เส้น (4) ที่มีอยู่บนวงแหวน (1) อันเป็นการทำให้เกิดเป็นกระบอกขึ้นจากเส้นวัสดุ (4) ที่เป็นส่วนยาว (40) จำนวนเท่ากับอุปกรณ์ยึด (ข) เส้นวัสดุ (4) เป็นส่วนเดียวกันกับส่วนยาว (40) ส่วนแรกที่ถูกตัด (ค) แกนแข็ง (7) ถูกสอดเข้าภายในบริเวณส่วนกลางของส่วนเสริมความแข็งแรงที่ได้จัดทำขึ้นไว้ (ง) อุปกรณ์ยึด (3) ได้ถูกพับเข้าโดยรอบแกนแข็ง (7) ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งความตึงของเส้น (4) เสริมความแข็งแรง (จ) เส้นวัสดุ (4) ได้ถูกตรึงเข้ากับวงแหวนนูน (45) และจากนั้นอุปกรณ์ยึด (3) ก็ถูกปล่อยออก 1
8. กรรมวิธีของการผลิตยางรถยนต์ตามข้อถือสิทธิข้อ 17 ด้วยเครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 14 ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ - อุปกรณ์ยึด (3) ได้ถูกพับเข้าโดยรอบแกนแข็ง (7) ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งความตึงของเส้นเสริมความแข็งแรง (4) โดยการพับจะยุติลงในทันทีที่อุปกรณ์ยึด (3) อยู่ในระดับเชิงรัศมีที่ต่ำกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนนูน (45) และหลังจากนั้นอุปกรณ์ (8) ที่ใช้ยึดเส้นเข้ากับวงแหวนนูนก็จะถูกนำไปในแนวแกนเข้าหาวงแหวนนูนเพื่อว่าแท่งตรง (81) ที่ขนานกับแกนแท่งการหมุนของยางรถยนต์แต่ละแท่งจะได้ไปปิดสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าซึ่งจะเกิดจากการขดเป็นวง (400) ของเส้นเสริมความแข็งแรง (4) เมื่ออุปกรณ์ยึด (3) พับตัว - อุปกรณ์จัดรูปได้ถูกส่งเข้าไปเป็นจำนวนหลายรอบเพื่อให้เกิดเป็นวงแหวนนูน (45) - ส่วนที่เป็นนิ้วแกว่ง (82) ถูกลดระดับลงในแนวแกนทางด้านในของวงแหวนนูน (45) - แขนรับ (2) ของตะขอ (31, 32) ถูกส่งไปในแนวแกนเข้าหาด้านในอันเป็นการเปิดโอกาสให้สามารถปล่อยตะขอ (31) ชุดแรกได้ - ส่วนที่เป็นนิ้ว (82) ถูกยกขึ้นและอุปกรณ์สำหรับตรึง (8)ก็ถูกเลื่อนไปในแนวแกนจากนั้นส่วนที่เป็นนิ้ว (82) ยื่นก็ถูกลดระดับลงในแนวแกนทางด้านนอกของวงแหวนนูน (45) - วงแหวนนูน (45) ถูกเลื่อนไปข้างหน้าในแนวแกนสู่ตำแหน่งสุดท้ายที่ยันเข้าหาแกนแข็ง (7) - แขนรับถูกเลื่อนกลับในแนวแกนอันเป็นการเปิดโอกาสให้สามารถที่จะปล่อยตะขอ (32) ชุดสุดท้ายได้ 1
9. กรรมวิธีของการผลิตยางรถยนต์ตามข้อถือสิทธิข้อ 17 ด้วยเครื่องตามข้อถือสิทธิข้อ 14 ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ - อุปกรณ์ยึด (3) ได้ถูกพับเข้าโดยรอบแกนแข็ง (7) ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งความตึงของเส้นเสริมความแข็งแรง (4) โดยการพับจะยุติลงในทันทีที่อุปกรณ์ยึดอยู่ในระดับเชิงรัศมีที่ต่ำกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนนูน (45) และหลังจากนั้นอุปกรณ์ (8a) ที่ใช้ยึดเส้นเข้ากับวงแหวนนูน (45) ก็จะถูกนำไปในแนวแกนเข้าหาวงแหวนนูนเพื่อว่าร่อง (850a) แต่ละร่องจะได้ไปปิดสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าซึ่งจะเกิดจากการขดเป็นวง(400) ของเส้นเสริมความแข็งแรง (4) เมื่ออุปกรณ์ยึด (3) พับตัว - อุปกรณ์จัดรูปได้ถูกส่งเข้าไปเป็นจำนวนหลายรอบเพื่อให้เกิดเป็นวงแหวนนูน (45) - แขนรับ (2) ของตะขอ (31a, 32a) ถูกส่งไปในแนวแกนเข้าหาด้านในทำให้สามารถปล่อยตะขอ (31a, 32a) ทุกชุดได้ - ใบมีด (85a) ถูกยกขึ้นและเลื่อนกลับจากนั้นก็ลดระดับลงทางด้านนอกของวงแหวนนูน (45) - วงแหวนนูน (45) เลื่อนไปข้างหน้าในแนวแกนสู่ตำแหน่งสุดท้ายที่ยันเข้าหาแกนแข็ง (7) 2
0. ตะขอ (31, 32, 31a, 32a) ที่ใช้ในเครื่องสำหรับการผลิตยางรถยนต์ซึ่งจุด (310, 320, 310a, 320a) ต่างๆ ของตะขอดังกล่าวได้ถูกจัดไว้นอกแนวระนาบที่เป็นฐานของตะขอดังกล่าว
TH8701000222A 1987-04-24 กรรมวิธีและเครื่องใช้ในการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์ TH4201B (th)

Publications (3)

Publication Number Publication Date
TH5360EX TH5360EX (th) 1988-12-01
TH5360A TH5360A (th) 1988-12-01
TH4201B true TH4201B (th) 1994-12-21

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
FI86524B (fi) Foerfarande och anordning foer framstaellning av foerstaerkningar foer ytterdaeck.
US4992313A (en) Fiber-reinforced plastic strut connecting link
JPS5936017B2 (ja) 厚い織物体部の製造装置
CN1951339B (zh) 制造支架移植管的方法
TH4201B (th) กรรมวิธีและเครื่องใช้ในการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์
TH5360A (th) กรรมวิธีและเครื่องใช้ในการผลิตส่วนเสริมความแข็งแรงของยางรถยนต์
CN214610901U (zh) 一种高韧性且不产生散层的纱线
CN217376789U (zh) 一种自动张力控制机构和碳纤维展丝自动张力控制装置
AU621139B2 (en) Component elements of an apparatus for the manufacture of a tire reinforcement
US6041841A (en) Manufacture of carcass reinforcement for a tire using two carcass half-reinforcements
EP0404796A1 (en) A method for manufacturing tampons, and a tampon
US5185051A (en) Hook for use in an apparatus for making a tire reinforcement
CN108406886A (zh) 纤维切割装置
US4944828A (en) Device and method for the manufacture of a tire reinforcement from a single cord
CN207983452U (zh) 纤维切割装置
US3659371A (en) Fly tying process
US4910952A (en) Method and apparatus for making a frayless line
US4921177A (en) String positioning device and method
US4120522A (en) Macrame-forming device
US5852924A (en) Method and apparatus for making a tapered line from thread and an improved tapered line
US4097322A (en) Manufacture of rigid elongate members of resin bonded reinforcing elements
JPS602231Y2 (ja) ル−プ状植毛の結束糸挿通装置
JP3239605B2 (ja) 組成体をベースとした成形品の作製方法
SU1170017A1 (ru) Способ изготовлени ворсового нетканого издели
JP2526347Y2 (ja) 自動いか釣機専用針