TH2001000279A - เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง - Google Patents

เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง

Info

Publication number
TH2001000279A
TH2001000279A TH2001000279A TH2001000279A TH2001000279A TH 2001000279 A TH2001000279 A TH 2001000279A TH 2001000279 A TH2001000279 A TH 2001000279A TH 2001000279 A TH2001000279 A TH 2001000279A TH 2001000279 A TH2001000279 A TH 2001000279A
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
food waste
food
air
waste
shaped steel
Prior art date
Application number
TH2001000279A
Other languages
English (en)
Inventor
แก้วปรีดาเชษฐ นางสาวดลชนก
Original Assignee
บริษัท อีเกิ้ล ดรีม จำกัด
Filing date
Publication date
Application filed by บริษัท อีเกิ้ล ดรีม จำกัด filed Critical บริษัท อีเกิ้ล ดรีม จำกัด
Publication of TH2001000279A publication Critical patent/TH2001000279A/th

Links

Abstract

เครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยเครื่องนี้ ถูกคิดค้น ออกแบบ วิจัยพัฒนา เพื่อเป็นส่วนช่วยในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในปริมาณมากที่สุดของขยะทั้งหมดอย่างถูกต้อง ไม่ให้เป็นแหล่งเชื้อโรคหรือส่งกลิ่นเหม็น ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังเช่นการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองซึ่งเป็นมลภาวะทางอากาศ นอกจากจะสามารถลดปริมาณขยะลงได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของปุยที่ออกมา เป็นผลพลอยได้ที่สามารถใช้ในการปรับปรุงดินหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยนี้จะต้องใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ Superbact. ซึ่งเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สำเร็จรูปที่ถูกคิดค้นมาเพื่อใช้ร่วมกับเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารให้เป็นปุยเครื่องนี้โดยเฉพาะ จุสินทรีย์ Superbact.ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิดที่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทโปรตีน ไขมัน แป้งและเซลลูโลสโดยใช้ในอัตราส่วนน้ำหนักต่อเศษอาหาร คือ Superbact. 1: เศษอาหาร 2 ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อมอุณหภูมิโดยประมาณ 40 องศาเซลเซียส ถึง 60 องศาเซลเซียส และเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 75 องศาเซลเชียสและความชื้นภายในที่เหมาะสมโดยประมาณ 40% ถึง 60% กระบวนการย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ------------ หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า บทสรุปการประดิษฐ์ เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยนี้ ถูกคิดค้น ออกแบบ วิจัยพัฒนา เพื่อเป็นส่วนช่วยในการกำจัดขยะ อินทรีย์ที่เกิดขึ้นในปริมาณมากที่สุดของขยะทั้งหมดอย่างถูกต้อง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อไม่ให้ เป็นแหล่งเชื้อโรคหรือไปปนเปื้อนกับขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์ในเรื่อง ของปุ๋ยที่ออกมากลายเป็นผลพลอยได้ที่สามารถใช้ในการปรับปรุงดินหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดย เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยนี้จะต้องใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ EM ในอัตราส่วนนํ้าหนักต่อเศษอาหาร คือ EM 1 : เศษอาหาร 2 ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อมอุณหภูมิโดยประมาณ 40 (สัญลักษณ์) C ถึง 60 (สัญลักษณ์) C และเพิ่มขึ้น สูงสุดไม่เกิน 75 (สัญลักษณ์) C และความชื้นภายในที่เหมาะสมโดยประมาณ 40% ถึง 60% กระบวนการย่อยสลายเศษ อาหารให้เป็นปุ๋ยโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

Claims (1)

1.เครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารให้เป็นปุย ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวถังหลัก (10) ช่องที่หนึ่ง(20) ช่องที่สอง (21) ฝาเปิดด้านบนช่องที่หนึ่ง (22) ฝาเปิดด้านบนช่องที่สอง (23) ประตูเปิดด้านนอกช่องที่หนึ่ง (24)ประตูเปิดด้านนอกช่องที่สอง (25) ชุดเครื่องกวน (30) ตัวทำความร้อน (40) ช่องอากาศ (51) ตัวเป่าลม (52)ช่องระบายอากาศ (61) ตัวแยกความชื้น (62) ชุดกรองอากาศเสีย (70) ปั๊มดูดอากาศ (71) ชุดโปรยน้ำ (80)เครื่องบดสลาย (90) หัวรับอาหาร (91) ตัวลดความชื้นในขยะเศษอาหาร (100) แผงควบคุม (110) ตัวเซ็นเซอร์วัดความชื้น (111) ตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (1 12) สวิตย์ตัดไฟฉุกเฉิน (113)ที่ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ประกอบด้วย ตัวถังหลัก (10) ทำจากเหล็กมีความแข็งแรงทนทานรูปทรงสี่เหลี่ยม มีผนังทุกด้านเชื่อมติดกัน ด้านบนตัวถังหลักคือหัวรับอาหาร (91) เมื่อนำอาหารใส่หัวรับ อาหารจะถูกบดย่อยโดยเครื่องบดสลาย (90) เพื่อให้อาหารมีขนาดเล็กลงง่ายต่อการบดย่อย ต่อมาจะมีตัวลดความชื้นในขยะเศษอาหาร (100 ถูกติดตั้งเพื่อขจัดน้ำหรือของเหลวส่วนเกินออก เมื่อขยะเศษอาหารถูกบดย่อยและรีดน้ำเรียบร้อยแล้วจะถูกส่งมายังช่องที่หนึ่ง (20) ลักษณะเป็นถังรูปตัวทำจากวัสดุเหล็กกล้าสแตนเลสซึ่งสามารถทนต่อสภาพความเป็นกรด-เบสของขยะเศษอาหารได้ดี จากนั้นทำการใส่จุลินทรีย์ Superbact. (SB1) และSuperbact. (SB2) ผ่นฝาเปิดด้านบนช่องที่หนึ่ง (22) เพื่อให้สามารถย่อยสลายขยะเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเชื้อ Superbact. ที่ใช้นี้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรีย 4ชนิดที่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทประเภทโปรตีน ไขมัน แป้งและเซลลูโลส (จดสิทธิบัตรจุลินทรีย์Superbact. แยกต่างหาก) เติมจุลินทรีย์ Superbact. ลงไปในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อขยะเศษอาหารที่โหลดเข้ามา ขยะเศษอาหารและจุลินทรีย์ Superbact. จะถูกกวนด้วยชุดเครื่องกวน (30) จะมีแขนกวนที่มีความสามารถในการบดและผสมขยะเศษอาหารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ระยะเวลาการลดขนาด ลดความชื้นของขยะเศษอาหารและวิธีการผสมขยะเศษอาหารให้เข้ากับจุลินทรีย์ Superbact. ใช้เวลาทั้งหมด 24 ชั่วโมงซึ่งจะมีตัวทำความร้อน (40) ติดตั้งอยู่บนพื้นผิวด้านนอกของถังเหล็กรูปตัวยูเพื่อให้ความร้อนแก่ขยะเศษอาหารเพื่อที่อุณหภูมิของขยะเศษอาหารสามารถเพิ่มขึ้นจนถึงสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแอโรบิกโดยใช้จุลินทรีย์ก็คือ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งตัวทำความร้อน (40) สามารถให้ความร้อนได้สูงถึง 80 องศาเซลเชียส และมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (1 12) ไว้วัดค่าอุณหภูมิของขยะเศษอาหาร โดยสามารถปรับค่าอุณหภูมิได้ที่แผงควบคุม (1 10) ในระหว่างกระบวนการย่อยสลายขยะเศษอาหารจะมีชุดโปรยน้ำ (80) ทำหน้าที่โปรยน้ำให้ขยะเศษอาหารเปียกเมื่อแห้งเกินไป เมื่อขยะเศษอาหารเกิดกระบวนการย่อยสลายด้วยกระบวนการแอโรน้ำให้ขยะเศษอาหารเปียกเมื่อแห้งเกินไป เมื่อขยะเศษอาหารเกิดกระบวนการย่อยสลายด้วยกระบวนการแอโรบิกจะได้มาเป็นปุยหมัก ความชื้นของปุยหมักขยะเศษอาหารจะถูกเก็บไว้ที่ความชื้นสูง 409 สำหรับการทำปุ๋ยหมักที่เหมาะสมและจะมีตัวเซ็นเซอร์วัดความชื้น (111) คอยบอกสถานะความชื้นของปุ้ยหมัก ต่อมาเปิดใช้งานปั๊มดูดอากาศ (7 1) ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องระบายอากาศ (61) เพื่อดูดอากาศภายและสร้างการไหลเวียนของอากาศภายในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่หนึ่ง (20) อากาศภายในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่หนึ่ง (20) จะถูกดูดและปล่อยออกจากเครื่อง เมื่ออากาศภายในถังเหล็กรูปตัวยูถูกดูดออกอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะไหลเข้าแทนที่และเนื่องจากแรงดันอากาศภายในถังเหล็กรูปตัวยูลดลง อากาศภายนอกสามารถผ่านเข้ามาได้อย่างต่อเนื่องในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่หนึ่ง (20) เพื่อใช้สำหรับกระบวนการแอโรบิก ส่วนอากาศที่ถูกดูดออกจากถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่หนึ่ง (20) จะผ่านช่องตัวแยกความชื้น (62) ซึ่งจะดักจับอนุภาคของน้ำไว้ก่อนจะไปยังชุดกรองอากาศเสีย(70) จากนั้นอากาศเสียจะผ่านเข้าสู่การกรองกำจัดกลิ่นและสิ่งสกปรกในตัวชุดกรองอากาศเสีย (70) ก่อนที่จะระบายออกจากเครื่อง สำหรับระบบดูดอากาศภายนอกจะมีช่องอากาศ (51) ซึ่งเป็นช่องที่อากาศภายนอกไหลข้ามมาจากถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่สอง (21) อากาศจะถูกสูบโดยตัวเป่าลม (52) อากาศร้อนแห้งที่ถูกดูดเข้ามาจะถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยตัวทำความร้อน (40) เมื่อขยะเศษอาหารย่อยสลายจนกลายปุ๋ยแล้ว จะถูกส่งไปยังฝาเปิดด้านบนช่องที่สอง (23) สำหรับเก็บปุยและสามารถนำออกมาใช้งานได้ผ่านทางประตูเปิดต้านนอกช่องที่หนึ่ง (24) และประตูเปิดด้านนอกช่องที่สอง (25) ในกรณีเกิดปัญหาตัวเครื่องจะมีสวิตซ์ตัดไฟฉุกเฉิน (113) ให้ผู้ใช้งานกด ------------ หน้า 1 ของจำนวน 4 หน้า ข้อถือสิทธิ ข้อถือสิทธิ 1) - การรวมระบบและการก่อสร้าง เครื่องสำหรับย่อยสลายเศษอาหาร ประกอบด้วย ๐ ตัวเครื่องหลัก (10) ๐ ถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) สำหรับบรรจุเศษอาหารและจุลินทรีย์ EM1 หรือ EM2 และถังเหล็กรูป ตัวยูช่องที่ 2 (21) สำหรับบรรจุเศษอาหารที่ย่อยสลายเป็นปุ๋ยเรียบร้อยแล้ว ช่องทั้งสองนี้จะมีฝาเปิด ด้านบน ๐ สวิตช์ตัดไฟฉุกเฉิน (113) ถูกติดตั้งอยู่บนตัวเครื่องหลัก (10) เพื่อตัดแหล่งจายไฟหลักในกรณีฉุกเฉิน ๐ ตัวทำความร้อน (40) จะสัมผัสกับพื้นผิวด้านนอกของถังเหล็กรูปตัวยู เพื่อสร้างความร้อนให้กับเศษ อาหารในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) ๐ ชุดเครื่องกวน (30) ถูกติดตั้งภายในถังเหล็กรูปตัวยู เพื่อใช้ผสมเศษอาหารให้เข้ากับจุลินทรีย์ EM1 หรือ EM2 ๐ ชุดโปรยน้ำ (80) ถูกติดตั้งเพื่อทำให้เศษอาหารเปียกขึ้น หากมันแห้งจนเกินไป เซ็นเซอร์วัดความชื้น (111) ถูกติดตั้งเพื่อวัดค่าความชื้นของเศษอาหาร โดยรักษาความชื้นในการย่อยสลายเศษอาหารไม่ให้ ตํ่ากว่า 40% ๐ เครื่องบดสลาย (90) ถูกติดตั้งเพื่อหั่นหรือบดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผ่านหัวรับอาหาร (91) และ ตัวลด ความชื้นในเศษอาหาร (100) ถูกติดตั้งเพื่อขจัดน้ำหรือช่องเหลวส่วนเกินออก ๐ ปั๊มดูดอากาศ (71) เขื่อมต่อกับของระบายอากาศ (61) สำหรับดูดอากาศและสร้างการไหลเวียนของ อากาศแบบ Compulsorily ในถังเหล็กรูปตัวยูของที่ 1 (20) เมื่อปั๊มดูดอากาศ (71) ถูกเปิดใช้งาน อากาศที่เกิดขึ้นภายในของถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) และช่องที่ 2 (21) จะถูกดูดออกและปล่อย ออกจากเครื่อง เมื่ออากาศภายในของถังเหล็กรูปตัวยูทั้งสองช่องถูกดูดออก ความดันอากาศภายในถัง เหล็กรูปตัวยูจะลดลง อากาศบริสุทธิ์ภายนอกจึงถูกบังคับให้ไหลเข้าสู่ถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) สำหรับกระบวนการแอโรบิกต่อไป ๐ ชุดกรองอากาศเสีย (70) ถูกติดตั้งอยู่ระหว่างช่องระบายอากาศ (61) เพื่อกำจัดกลิ่นและสิ่งสกปรก ของอากาศก่อนที่จะถูกขับออกจากเครื่อง ซึ่งอากาศเสียจะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการย่อยสลายเศษ อาหารให้เป็นปุ๋ยในถังเหล็กรูปตัวยูของที่ 1 (20) และจะถูกบังคับให้ผ่านมายังตัวดักความชื้น (62) แล้วจึงไปยังชุดกรองอากาศเสีย (70) หน้า 2 ของจำนวน 4 หน้า ข้อถือสิทธิ 2) - การควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่อง การควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องย่อยสลายเศษอาหารเครื่องนี้ ประกอบด้วย ๐ ตัวทำความร้อน (40) ๐ ปั๊มดูดอากาศ (71) ๐ ชุดเครื่องกวน (30) ๐ เครื่องเป่าลม (52) ๐ ระบบโปรยน้ำ (80) ๐ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (112) ๐ เซ็นเซอร์วัดความชื้น (111) เพื่อให้สภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับการย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยในกระบวนการแอโรบิก ข้อถือสิทธิ 3) - จุลินทรีย์ EM1 และ EM2 เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยเครื่องนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ EM1 หรือ EM2 ที่คิดค้นขึ้นมา โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจุลินทรีย์ EM ที่ใช้นี้เป็นสูตร ผสมสารนำพาและจุลินทรีย์จำนวน 5 ชนิด: แบคทีเรีย 1, แบคทีเรีย 2, แบคทีเรีย 3, แบคทีเรีย 4, และ แบคทีเรีย 5 (จดสิทธิบัตรจุลินทรีย์ EM แยกต่างหาก) ข้อถือสิทธิ 4) - วิธีการลดขนาดและความชื้นของเศษอาหาร วิธีการลดขนาดและความชื้นของเศษอาหารของเครื่องย่อยสลายเศษอาหารเครื่องนี้ ประกอบด้วย ๐ เครื่องบดสลาย (90) ๐ ตัวลดความชื้นในเศษอาหาร หรือทำให้เศษอาหารแห้ง (100) เพื่อให้เศษอาหารเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายต่อไปในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) ข้อถือสิทธิ 5) - วิธีการผสมเศษอาหารเข้ากับจุลินทรีย์ EM1 หรือ EM2 วิธีการผสมเศษอาหารเข้ากับจุลินทรีย์ EM ของเครื่องย่อยสลายเศษอาหารเครื่องนี้ ประกอบด้วย หน้า 3 ของจำนวน 4 หน้า ๐ การโหลดเศษอาหารลงในถังเหล็กรูปตัวยูช่องที่ 1 (20) ๐ เติมจุลินทรีย์ EM ลงไปในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อเศษอาหารที่โหลดเข้ามา โดยชุดเครื่องกวน (30) จะ มีแขนกวนที่มีความสามารถในการบดและผสมเศษอาหารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ข้อถือสิทธิ 6) - วิธีการเชื่อมต่อข้อถือสิทธิ 4) ไปยัง ข้อถือสิทธิ 5) ระยะเวลาทั้งการลดขนาดและความชื้นของเศษอาหารรวมถึงวิธีการผสมเศษอาหารเข้ากับจุลินทรีย์ EM ของ เครื่องย่อยสลายเศษอาหารเครื่องนี้อยู่ภายใน 24 ชั่วโมง ข้อถือสิทธิ 7) - วิธีการเชื่อมต่อข้อถือสิทธิ 4) ไปยัง ข้อถือสิทธิ 5) และไปยัง ข้อถือสิทธิ 6) ระยะเวลาภายใน 24 ชั่วโมงจะเกิดขึ้นได้จากการรักษาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมโดยการควบคุมตัวทำความ ร้อน (40), ปั๊มดูดอากาศ (71), ชุดเครื่องกวน (30) ร่วมด้วย ข้อถือสิทธิ 8) - วิธีการเชื่อมต่อข้อถือสิทธิ 7) การรักษาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมข้างต้นนั้นจะประกอบด้วย ๐ อุณหภูมิที่เหมาะสมโดยประมาณ 40 (สัญลักษณ์)C ถึง 60 (สัญลักษณ์) C และเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 75 (สัญลักษณ์) C ๐ ความขึ้นภายในที่เหมาะสมโดยประมาณ 40% ถึง 60% ข้อถือสิทธิ 9) - วิธีการเชื่อมต่อข้อถือสิทธิ 4) ไปยัง ข้อถือสิทธิ 8) เศษอาหารจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ด้วยจุลินทรีย์ EM1 หรือ EM2 ที่ถูกเติมเข้าไป โดยจะใส่ในอัตราส่วน น้ำหนักต่อเศษอาหาร - EM 1 : เศษอาหาร 2 ข้อถือสิทธิ 10) - วิธีการเชื่อมต่อข้อถือสิทธิ 4) ไปยัง ข้อถือสิทธิ 9) กระบวนการย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยจะสมบูรณ์ได้ด้วยการควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ให้อยู่ในสถานะที่ถูกต้องเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุดให้เกิดขึ้น
TH2001000279A 2020-01-16 เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง TH2001000279A (th)

Publications (1)

Publication Number Publication Date
TH2001000279A true TH2001000279A (th) 2023-01-16

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
EP3216777B1 (en) Method for operating a composter device and composter device
KR960011172B1 (ko) 수분 함유율이 높은 유기물을 퇴비화하는 방법 및 장치
WO2016043656A1 (en) Apparatus for treating food waste
KR20190033713A (ko) 축산분뇨, 농수산 부산물 또는 남은 음식물의 혼합발효에 의한 유기질 비료 생산을 위한 퇴비화 장치
KR100727619B1 (ko) 음식물쓰레기 처리장치
KR20060126466A (ko) 유기성 폐기물의 퇴비화 처리 방법 및 장치
TH2001000279A (th) เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง
KR20130142825A (ko) 미생물 발효를 이용한 애견사료와 이의 제조장치 및 제조방법
JP2006026539A (ja) 有機性廃棄物の再利用処理方法
KR100238097B1 (ko) 음식물쓰레기의 퇴비화 장치
AU2006293435B2 (en) An apparatus and process for conversion of biomass/waste into bio-organic soil enricher and conditioner and fuel
KR100912723B1 (ko) 축산 분뇨 및 음식물 쓰레기의 발효 건조기
KR20160004100U (ko) 음식물 쓰레기 퇴비화 장치
JPH07195058A (ja) 生ゴミ等の処理方法および生ゴミ等の処理装置
JPH06312167A (ja) 生ごみ処理機
KR101478284B1 (ko) 음식물 쓰레기의 고속 발효 장치
JP3727833B2 (ja) 生ごみ処理機
JP7430436B1 (ja) モバイルコンポスト
JP2000197873A (ja) 有機廃棄物処理方法
KR101820089B1 (ko) 유기성 폐기물의 처리장치
JP2003275717A (ja) 廃棄物処理装置
CN106495768A (zh) 厨房垃圾处理方法及装置
KR970003027Y1 (ko) 음식물 쓰레기의 사료 및 퇴비화 장치
KR100216182B1 (ko) 분말 탈취제 투입방식의 음식물쓰레기처리장치
JP2009082800A (ja) ごみ処理方法及びごみ処理システム