TH12931A3 - กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิด ของผนังสำเร็จรูป - Google Patents

กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิด ของผนังสำเร็จรูป

Info

Publication number
TH12931A3
TH12931A3 TH1603001195U TH1603001195U TH12931A3 TH 12931 A3 TH12931 A3 TH 12931A3 TH 1603001195 U TH1603001195 U TH 1603001195U TH 1603001195 U TH1603001195 U TH 1603001195U TH 12931 A3 TH12931 A3 TH 12931A3
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
joints
epoxy
vertical wall
lintel
openings
Prior art date
Application number
TH1603001195U
Other languages
English (en)
Other versions
TH12931C3 (th
Inventor
อังอติชาติ นายประพันธ์
หวังหมู่กลาง นายนิรุติ
Filing date
Publication date
Application filed filed Critical
Publication of TH12931A3 publication Critical patent/TH12931A3/th
Publication of TH12931C3 publication Critical patent/TH12931C3/th

Links

Abstract

การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนากรรมวิธีการติดตั้งช่องเปิดของผนังสำเร็จรูป เพื่อป้องกัน การเกิดรอยร้าวอันไม่พึงประสงค์ของผนังบริเวณรอยต่อผนังบริเวณช่องเปิด โดยมุ่งเน้นไปที่ การเสริมความแข็งแรงของรอยต่อแผ่นผนังบริเวณช่องเปิด ด้วยการบากบริเวณรอยต่อระหว่าง แผ่นผนังแนวตั้ง (1) และแผ่นทับหลัง (3) ให้เป็นรอยบาก (6) เพื่อทำการใส่อีพ็อกซี่ (8) และ เหล็กเสริม (9) จากนั้นปิดทับรอยบาก (6) และรอยต่อ (4) ระหว่างแผ่นผนังด้วยตาข่ายเสริมแรง (11) การใส่อีพ็อกซี่ (8) และเหล็กเสริม (9) ดังกล่าวเป็นการทำเพื่อเสริมความแข็งแรงของ รอยต่อแผ่นทับหลัง (3) และแผ่นผนังแนวตั้ง (1) ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยการยึดเกาะ ของอีพ็อกซี่จะทำให้บริเวณจุดเชื่อมต่อสามารถรับแรงดึงได้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยล็อกไม่ให้แผ่น ทับหลัง (3) และแผ่นผนังแนวตั้ง (1) ขยับออกจากกันเมื่อมีแรงจากภายนอกมากระทำอย่าง รุนแรง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดรอยร้าวบริเวณรอยต่อผนังบริเวณช่องเปิดได้ดีขึ้น

Claims (5)

1. กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิดของผนัง สำเร็จรูป มีวิธีการทำประกอบด้วย การตัดบากแผ่นผนังแนวตั้ง (1) ทั้งสองด้านให้เป็นบ่ารับ (2) และใช้แผ่นทับหลัง (3) วางลงบนบ่ารับ (2) ทั้งสองด้าน โดยที่บริเวณรอยต่อ (4) ของแผ่นผนัง แนวตั้ง (1) และแผ่นทับหลัง (3) จะเชื่อมต่อกันด้วยวัสดุเชื่อมประสาน (7) บริเวณบ่ารับ (2) ของ แผ่นผนังแนวตั้ง (1) ทั้งสองด้านจะใส่เหล็กเส้น (5) วางใส่ขวางกับด้านความหนาของแผ่นผนัง แนวตั้ง (1) เพื่อหนุนให้เกิดช่องว่างระหว่างบ่ารับ (2) และแผ่นทับหลัง (3) สำหรับใส่วุสดุเชื่อม ประสาน (7) โดยมีลักษณะพิเศษคือ การขูดหรือกดวัสดุเชื่อมประสาน (7) บริเวณรอยต่อ (4) ให้ยุบ ลงไป 0.5-2 เซนติเมตร ตลอดแนวรอยต่อให้เป็นร่อง ทำการอุดร่องที่ทำไว้บริเวณรอยต่อ (4) ด้วย วัสดุอุดร่อง (10) ให้เสมอกับระนาบแผ่นทับหลัง (3) และแผ่นผนังแนวตั้ง (1) จากนั้นทำการบาก บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นผนังแนวตั้ง (1) และแผ่นทับหลัง (3) ให้เป็นรอยบาก (6) เพื่อใส่อีพ็อกซี่ (8) และเหล็กเสริม (9) ฝังลงไปในรอยบาก (6) จากนั้นปิดทับรอยบาก (6) และบริเวณรอยต่อ (4) ด้วยตาข่ายเสริมแรง (11)
2. กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิดของผนัง สำเร็จรูป ตามข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ที่ซึ่งอีพ็อกซี่ที่ใช้ เลือกได้จากอีพ็อกซี่ชนิดใช้สำหรับเสียบเหล็ก อีพ็อกซี่มอร์ตาร์ หรืออีพ็อกซี่เกร้าท์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
3. กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิดของผนัง สำเร็จรูป ตามข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ที่ซึ่งขนาดของรอยบาก (6) คือ ความกว้าง 0.65-5 เซนติเมตร ความลึก 0.65-5 เซนติเมตร และความยาว 12-25 เซนติเมตร โดยที่ขนาดรอยบากที่เหมาะสมคือ ความกว้าง 1.2-2 เซนติเมตร ความลึก 1.2-2 เซนติเมตร และความยาว 13-20 เซนติเมตร
4. กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิดของผนัง สำเร็จรูป ตามข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ที่ซึ่งเหล็กเสริม (9) เลือกได้จากเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย ที่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-12 มิลลิเมตร ความยาว 10-20 เซนติเมตร อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิดของผนัง สำเร็จรูป ตามข้อถือสิทธิข้อที่ 1 ที่ซึ่งวัสดุอุดร่อง (10) เลือกได้จากอีพ็อกซี่ (8) และเหล็กเสริม (9) คือ 2 -4 จุดต่อช่องเปิดหนึ่งช่อง
TH1603001195U 2016-07-07 กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิด ของผนังสำเร็จรูป TH12931C3 (th)

Publications (2)

Publication Number Publication Date
TH12931A3 true TH12931A3 (th) 2017-08-04
TH12931C3 TH12931C3 (th) 2017-08-04

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
EP2715004B1 (en) Stronger wall system
US10287773B2 (en) Formwork
CN107558633A (zh) 设置有带配电箱的预制墙板的安装方法
CN104541006B (zh) 抗震加强施工方法
KR101942316B1 (ko) 철근콘크리트 프레임의 내진 보강용 pc 벽 패널, pc 벽 패널을 이용한 철근콘크리트 프레임 내진 보강 구조 및 그 시공방법
JP4944807B2 (ja) 補強構造および補強方法
JP4455773B2 (ja) コンクリート構造体の改修方法
TH12931A3 (th) กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิด ของผนังสำเร็จรูป
TH12931C3 (th) กรรมวิธีการเสริมความแข็งแรงบริเวณรอยต่อสำหรับการติดตั้งช่องเปิด ของผนังสำเร็จรูป
US20150211230A1 (en) Module for building facades and method of use in construction
JP6969979B2 (ja) 組積造構造物の補強方法および補強構造
CN107762008B (zh) 一种干法粘固隔墙的方法
CN210917831U (zh) 一种新型建筑装配结构
KR102174760B1 (ko) 암거주택용 지붕 구조체
EP0042024A2 (fr) Procédé pour l'exécution sur place et sans coffrage de cloisons de maçonnerie en béton armé
KR20220065461A (ko) 지하 연속벽체 겹이음을 위한 철근구조물, 이를 이용한 지하 연속벽체 및 지하 연속벽체 시공방법
KR101839681B1 (ko) 건축용 조적식 블록세트
AU2014277653B1 (en) Creation of Curved or Circular Hobs in Cast-in-Situ Concrete Slabs
WO2014200444A1 (en) Concrete block steel reinforcement wall panel having a channel and a slot on front face
RU2602840C1 (ru) Устройство для усиления несущих конструкций
KR200414263Y1 (ko) 방화문용 문틀프레임 결합 구조물
KR102426927B1 (ko) 기존 조적조 구조물의 트러스형 내진보강을 위한 트라이앵글관 및 이를 이용한 내진보강 방법
KR102601231B1 (ko) 판상의 건축용 인방 및 이를 이용한 인방시공방법
JP2015158073A (ja) コンクリート打継ぎ用仕切り板
JP6099341B2 (ja) 板状コンクリート構造物のせん断補強構造