TH56920A - เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่อง - Google Patents

เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่อง

Info

Publication number
TH56920A
TH56920A TH9801001835A TH9801001835A TH56920A TH 56920 A TH56920 A TH 56920A TH 9801001835 A TH9801001835 A TH 9801001835A TH 9801001835 A TH9801001835 A TH 9801001835A TH 56920 A TH56920 A TH 56920A
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
arm
bed
support frame
adjusted
screw
Prior art date
Application number
TH9801001835A
Other languages
English (en)
Other versions
TH32617B (th
Inventor
เหล่าภัทรเกษม ศาสตราจารย์วิรุฬห์
Original Assignee
นายมงคล แก้วมหา
Filing date
Publication date
Application filed by นายมงคล แก้วมหา filed Critical นายมงคล แก้วมหา
Publication of TH56920A publication Critical patent/TH56920A/th
Publication of TH32617B publication Critical patent/TH32617B/th

Links

Abstract

DC60 (12/10/55) เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องมือแพทย์ที่อาศัยหลักของการขยับข้อ แบบต่อเนื่อง (continuous passive motion) เพื่อช่วยเร่งรัดการฟื้นฟูพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อของ แขนและขา เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องที่ออกแบบนี้สามารถให้การบำบัดทั้งแขนและขา ในเครื่องเดียวกันโดยอาศัยการถอดเปลี่ยนโครงพยุงแขนและโครงพยุงขาตามลำดับ กำลังการ เคลื่อนไหวเพื่อการบำบัดนี้ จะถูกส่งมาจากมอเตอร์กระแสตรงที่ฐานเครื่อง ผ่านเกียร์ทดด้วยอัตรา ทดขึ้นมายังเพลาส่งกำลังซึ่งสามารถปรับระดับความสูงได้ ผ่านชุดเฟืองดอกจอกที่หัวเครื่องด้านบน ไปยังแกนหมุนที่หัวเครื่อง สู่แขนหมุนจนถึงโครงพยุงแขน หรือโครงพยุงขาผู้ป่วย ระดับความสูง ของหัวเครื่องปรับด้วยระบบช็อกอับชนิดปิด-เปิดวาล์วอัตโนมัติ ระบบควบคุมไฟฟ้าสามารถตั้งโปรแกรมให้การขยับข้อเกิดขึ้นในลักษณะหมุนรอบตัว (rotate) ซึ่งอาจกำหนดทิศทางให้หมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกา หรือหมุนไป-กลับ (swing) ในพิสัย (range) ตามมุมที่กำหนดได้ กรณีแรกยังสามารถปรับมุมให้เกิดการพลิกมือหรือแขนท่อนปลายให้ คว่ำ-หงาย (pronation-supination) พร้อมกับการเหยียด-งอข้อศอกได้อีกด้วย การยึดเครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องให้ติดตรึงกับเตียงผู้ป่วย อาศัยระบบแขนกลที่ยื่น ออกมาจากลำตัวเครื่อง ซึ่งส่งแรงด้วยระบบคานกระดก เพื่อเชิดแขนจับเตียงให้เสยขึ้นดันกับ โครงสร้างด้านล่างของเตียง น้ำหนักเตียงจะส่งแรงกดผ่านส่วนลำตัวเครื่องลงไปยังฐานเครื่อง ซึ่งจะ เกิดความฝืดและเกาะติดกับพื้นที่วางเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องมือแพทย์ที่อาศัยหลักของการขยับข้อ แบบต่อเนื่อง (continuous passive motion) เพื่อช่วยเร่งรัดการฟื้นฟูพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อของ แขนและขา เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องที่ออกแบบนี้สามารถให้การบำบัดทั้งแขนและขา ในเครื่องเดียวกันโดยอาศัยการถอดเปลี่ยนโครงพยุงแขนและโครงพยุงขาตามลำดับ กำลังการ เคลื่อนไหวเพื่อการบำบัดนี้ จะถูกส่งมาจากมอเตอร์กระแสตรงที่ฐานเครื่อง ผ่านเกียร์ทดด้วยอัตรา ทดขึ้นมายังเพลาส่งกำลังซึ่งสามารถปรับระดับความสูงได้ ผ่านชุดเฟืองดอกจอกที่หัวเครื่องด้านบน ไปยังแกนหมุนที่หัวเครื่อง สู่แขนหมุนจนถึงโครงพยุงแขน หรือโครงพยุงขาผู้ป่วยระดับความสูง ของหัวเครื่องปรับด้วยระบบช็อกอับชนิดปิด-เปิดวาล์วอัตโนมัติ ระบบควบคุมไฟฟ้าสามารถตั้งโปรแกรมให้การขยับข้อเกิดขึ้นในลักษณะหมุนรอบตัว (rotate) ซึ่งอาจกำหนดทิศทางให้หมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกา หรือหมุนไป-กลับ (swing) ในพิสัย (range) ตามมุมที่กำหนดได้กรณีแรกยังสามารถปรับมุมให้เกิดการพลิกมือหรือแขนท่อนปลายให้ คว่ำ-หงาย (pronation-supination) พร้อมกับการเหยียด-งอข้อศอกได้อีกด้วย การยึดเครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องให้ติดตรึงกับเตียงผู้ป่วย อาศัยระบบแขนกลที่ยื่น ออกมาจากลำตัวเครื่อง ซึ่งส่งแรงด้วยระบบคานกระดก เพื่อเชิดแขนจับเตียงให้เสยขึ้นดันกับ โครงสร้างด้านล่างของเตียง น้ำหนักเตียงจะส่งแรงกดผ่านส่วนลำตัวเครื่องลงไปยังฐานเครื่อง ซึ่งจะ เกิดความฝืดและเกาะติดกับพื้นที่วางเครื่องอีกทีหนึ่ง

Claims (1)

1. เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่องชุดเดียว สามารถเลือกใช้ได้กับข้อของส่วนแขน (ศอก ไหล่) หรือส่วนขา (เข่า สะโพก) ซึ่งประกอบด้วย ส่วนฐาน เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่องและใช้เป็นพื้นที่สำหรับการ ติดตั้งต้นกำลัง (motor,Cl) เกียร์ทด (C3), ชุดลื่อเลื่อน (A3, A4, A5) และอุปกรณ์ควบคุมทางไฟฟ้า (I1, I2, I3, I4, I5) พื้นของฐานส่วนนี้ผลิตจากเหล็กแผ่น (A1) โดยการขึ้นรูปพับขอบและสันนูน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ใต้พื้นฐานมีแผ่นยางแข็งรองกันลื่นในขณะใช้งานจำนวน 4 แผ่น และมีฝา ครอบด้านบน (A6) เพื่อป้องกันฝุ่นและแมลง สามารถระบายความร้อนได้ด้วยตัวเอง และถอด ประกอบได้ ส่วนฐานนี้ติดต่อกัน ส่วนลำตัว ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกระบอกสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผลิต จากแผ่นสเตนเลส สตีล ประกอบด้วยลำตัวส่วนนอก (B1, B2) ซึ่งยึดติดอย่างมั่นคงด้วยสกรู (B3) ในแนวดิ่งตั้งฉากกับส่วนฐานภายในจะมีชุดลูกกลิ้ง (B5)เป็นตัวนำเลื่อนอยู่ระหว่างลำตัวส่วนนอก กับลำตัวส่วนใน (B6,B7) ทำให้ลำตัวส่วนใน (B6, B7)สามารถเลื่อนขึ้น-ลงในแนวดิ่งได้โดย ลูกกลิ้ง (B5). ลูกกลิ้ง (B5) นี้จะกลิ้งอย่างอิสระตามระยะของการหมุนกลิ้งและสัมผัสระหว่างลำตัว ส่วนนอก (B1, B2) กับลำตัวส่วนใน(B6, B7) ซึ่งจะมีผลทำให้ระยะการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง (B5) และลำตัวส่วนใน (B6, B7) มีอัตราส่วนที่แตกต่างกัน บนพื้นภายในส่วนฐาน (A) ติดตั้ง ส่วนกำลัง ซึ่งประกอบด้วย ต้นกำลัง (C1) มอเตอร์กระแสตรง ยึดแน่นบนแหล็กแผ่นฐาน (A1) โดยมีข้อต่อ (C2) เป็นตัวถ่ายทอดกำลังและ ความเร็วรอบจากมอเตอร์ (C1) ไปยังชุดเกียร์ทด (C3) ซึ่งมีอัตราทด 1:60 ทั้งนี้ เพื่อปรับลดความเร็ว รอบ ที่จะส่งไปยัแงกนส่งกำลังหลัก (C6) ให้เหลือเพียง 0.5-1.0 รองต่อนาที เกียร์ทด (C3) จะ ถ่ายทอดกำลังและความเร็วรองผ่านข้อต่อ (C4) แกนส่งกำลังหลัก (C6) และแกนส่งกำลังรอง (C7) ไปยังส่วนหัวเครื่อง ซึ่งยึดติดอย่างมั่นคงตรงปลายบนของลำตัวส่วนใน (B6,B7) ส่วนหัวเครื่อง ประกอบด้วย ชุดตลับลูกปืน (C8),เฟืองดอกจอก (C9), ปลอกหมุน (C11.1) ซึ่งสวมอยู่ในตลับลูกปืน (C10) เมื่อเฟืองดอกจอกกำลังผ่านไปยังปลอดหมุน (C11.1) ปลอกหมุน (C11.1) จะส่งกำลังผ่านลิ่มไปยังแกนหมุน (C11) ซึ่งสวมอยู่ในปลอดหมุน (C11.1) นั้น ทำให้แกนหมุน (C11) หมุนส่งกำลังไปยังแขนหมุน (D1) ได้ แกนหมุน (C11) นี้ จะสามารถเลื่อน ปรับระยะความยาวของส่วนยื่นจากหัวเครื่องได้ด้วยแผ่นล็อก (C14) ซึ่งจะทำหน้าที่ล็อก หรือคลาย ตำแหน่งระหว่างปลอกหมุน (C11.1) กับแกนหมุน (C11) ได้ด้วยสกรู (C18) ส่วนหัวแกนหมุน (C15) ซึ่งใช้ยึด แขนกล ทีใช้ขยับข้อของร่างกาย คือ แขนหมุน (D1) นั้น จะถูกแยกออกจากแกน หมุน (C11) เพื่อให้ส่วนหัวแกนหมุน (C15) สามารถหมุนอย่างอิสระได้ในขณะที่แขนหมุน (D1) ไมหมุน และสามารถยืดแน่นติดกันได้ด้วยชุดเขี้ยวประกับ (C16) เพื่อช่วยให้สามารถปรับตำแหน่ง ของแขนหมุนได้โดยอิสระ แขนหมุน (D1) มีลักษณะโค้งงอ ส่วนต้นตรึงทำมุม 90 องศากับแกนหมุน (C11) ซึ่งยื่นออจากลำตัวเครื่อง ซึ่งมีลักษณะจำเพาะคือ ส่วนลำตัวดังกล่าว มีกลไก ส่วนจับยึดเตียง ติดตั้งอยู่ โดยที่ ส่วนจับยึดเตียง ประกอบด้วย มือหมุน (E1) ทำหน้าที่เป็นนัต ซึ่งสามารถขันเลื่อนเข้า -ออกอยู่บน สกรู (E2) มือหมุน (E1) จะถูกขันเข้าไปอัดกับแขนยันหลัง (E3) ทำให้แขนยันหลัง (E3) ซึ่งมี ลักษณะเป็นรูปตัวยูไปผลุักแขนยันข้าง (E4) ซึ่งแขนยันข้าง (E4) นี้จะมีจุดหมุนอยู่ที่แกนหมุน (E7) ทั้งสองด้าน ทั้งซ้านและขวาของส่วนลำตัว (B1) โดยจุดหมุนทั้งสองด้านของแขนยันข้าง (E4) จะมี เขี้ยวประกับ ซึ่งประกอบอยู่กับเขี้ยวประกับของแขนยันหน้า (E5) บริเวณปลายของแขนยันหน้า (E5) เป็นจุดยึดแขนยันเตึยง (E9) ซึ่งแขนยันเตียง (E9) สามารถปรับระดับสูง -ต่ำ ให้สามารถสอดใส่ เข้าใต้คานเตียงผู้ป่วยได้ โดยการปรับสกรู (E8.1) เพื่อเลื่อนแขนยันเตียง (E9) ขึ้นลง แล้วล็อก ตำแหน่งได้ตามต้องการ นอกจากนั้น แขนยันเตียง (E9) ยังสามารถปรับระดับสูงต่ำแบบเร็วได้ โดย การคลายล็อกที่นัต (E6) ทั้งสองข้างซ้าย-ขวา เพื่อคลายเขี้ยวประกับของแขนยันข้างและแขนยันหน้า ทั้งสองข้างซ้าย -ขวาให้แยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้แขนยันหน้าหมุนรอบแกนหมุน (E7) ได้อย่าง อิสระ ทำให้สามารถปรับตั้งมุมของแขนยันหน้า (E5) และล็อกตำแหน่งสูงต่ำของแขนยันเตียงได้ ตามต้องการ ส่วนปลายของแขนยันเตียง (E9) แยกออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนปลายแขน (E9.2) และ ส่วนมือยันเตียง (E11) โดยมีเขี้ยวปรกับปรกบกันอยู่บนแกนสกรู (E10) เมื่อขันแกนสกรู (E10) เขี้ยวทั้งคู่จะถูกบีบให้ประกบกันแน่น แต่เมื่อคลายแกนสกรู (E10) เขี้ยวทั้งคู่จะแยกออกจากกัน ทำให้สามารถหมุนส่วนมือยันเตียง (E11) ได้รอบตัว และสามารถล็อกตำแหน่งได้ทุกตำแหน่ง รอบตัวโดยการขันสกรูให้แน่น มีแป้นยันเตียง (E12) ซึ่งติดอยู่กับมือยันเตียง (E11) ที่สามารถเลื่อน สูงต่ำได้โดยการปรับก้านของแป้นยันเตียง (E13) ซึ่งสวมอยู่กับมือยันเตียง (E11) ขึ้น-ลง แล้วตั้ง ตำแหน่งด้วยสลัก (E13.2) ที่ปลายของแป้นยันเตียง (E12) มีลักษณะเป็นร่องฟันบนหน้าแป้น เพื่อช่วยป้องกันการลื่นในขณะยันกับโครงขอบเตียงผู้ป่วย ระดับความสูงต่ำของหัวเครื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับแขนกลนั้น สามารถปรับได้ ตามการเลื่อนขึ้น -ลงของลำตัว ซึ่งเป็นปลอกสองชั้นสวมกัน (B1,B2,B6,B7) การเลื่อนขึ้น-ลง ดังกล่าวอาศัยการปิด-เปิดวาล์วของซ็อกอับ (F1) เป็นตัวควบคุม กรณีต้องการเลื่อนปรับ จะเปิดวาล์ว โดยการใช้เท้าเหยียบกดที่ก้านกด (F3) กระเดื่องของก้านกด (F3) จะดันโชว์วาล์วของช็อกอับ (F1) เปิด ทำให้ช็อกอับ (F1) ซึ่งยึดอยู่ระหว่างส่วนฐาน กับลำตัวส่วนใน (B6,B7) สามารถปรับเลื่อนขึ้น ลงได้โดยง่ายด้วยแรงคน การตรึงระยะความสูงของลำตัวส่วนใน (B6,B7) จะกระทำได้โดยการ ปล่อยเท้าจากก้านกด (F3) ซึ่งซ็อกอัล (F1) จะปิดวาล์ว ทำให้เกิดการล็อกตำแหน่งระหว่างส่วนฐาน กับลำตัวส่วนใน (B6,B7) โดยอัตโนมัติ แขนหมุน (D1) นี้สามารถปรับระยะรัศมีการหมุนและล็อกตำแหน่งได้โดยการ คลายและขันนัตล็อก (C17) ปลายของแขนหมัน (D1) มีแกน (D3.1) ไว้สำหรับสวมประกอบเข้ากับ โครงพยุงแขนผู้ป่วย และโครงพยุงขาผู้ป่วย แกน (D3.1) นี้จะสามารถหมุนปรับทำมุมกับแนวแกน ของแขนหมุน (D1) ได้อย่างอิสระโดยการคลายล็อกแกนสกรู (D2) เพื่อทำให้แผ่นประกับ (D1.3, D3) ซึ่งประกบอยู่บนแกนสกรู (D2) แยกออกจากกัน ทำให้แกน (D3.1) นี้สามารถหมุนรอบแกน สกรู (D2) และสามารถล็อกตำแหน่งได้อย่างอิสระโดยการขันแกนสกรู (D2) บีบแผ่นประกับ (D1.3, D3) ซึ่งมีฟันประกับรอบตัวให้ประกบเข้าหากัน ทำให้ล็อกตำแหน่งได้อยางมั่นคงที่ทุก ๆ ตำแหน่ง รองแกนสกรู (D2) โครงพยุงแขนผู้ป่วย ประกอบด้วย แกนนำเลื่อน (G3) 2 ตัว ซึ่งเป็นแกนหลัก สำหรับให้ปลอกนำเลื่อน (G2) เลื่อนไป-มาได้โดยอิสระตามแนวแกน และใช้เป็นจุดรองรับแผ่นรอง แขน (G5) ทั้งสอง ซึ่งแผ่นรองแขน (G5) นี้สามารถปรับระยะห่างได้โดยการเลื่อนเข้า-ออกบนแกน นำเลื่อน (G3) แล้วล็อกต่ำแหน่งด้วยสกรู โครงพยุงขาผู้ป่วย ใช้เป็นส่วนรองรับขาผู้ป่วยทั้งท่อนบน ท่อนล่าง และเท้า โดยขา ผู้ป่วยจะถูกจัดยางบนโครงพยุงต้นขา (H5) ซึ่งมีแผ่นรองต้นขา (H6) ติดตรึงอยู่ มีสายคาดทำด้วย แผ่นหนังติดผ้าตีนตุ๊กแกช่วยในการตรึงสะดวกรวดเร็วขึ้น แผ่นรองต้นขา (H6) จะมี 2 ส่วน (บน-ล่าง ) ซึ่งสามารถปรับระยะห่างได้โดยการเลื่อนปรับสกรู โครงพยุงน่อง (H1) จะมีลักษณะและการ ทำงานคล้ายกับโครงพยุงต้นขา (H5) โดยโครงพยุงน่อง (H1) นี้จะยึดติดอยู่กับโครงพยุงต้นขา (H5) มีจุดหมุนช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเหยียบงอเข้าได้อย่างอิสระ ปลายของโครงพยุงน่อง (H1) จะติดอยู่กับ ส่วนรองเท้าผู้ป่วย (H3.1-H3.5) ซึ่งสามารถปรับระยะให้สัมพันธ์กับความยาวขาของผู้ป่วยด้วยสกรู (H3.2) และสามารถปรับมุมตั้ง่ของฝาเท้าด้วยแผ่นรองเท้า (H3.3) และล็อกตำแหน่งด้วยสกรู (H3.4)
TH9801001835A 1998-05-20 เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่อง TH32617B (th)

Publications (2)

Publication Number Publication Date
TH56920A true TH56920A (th) 2003-06-20
TH32617B TH32617B (th) 2012-05-08

Family

ID=

Cited By (1)

* Cited by examiner, † Cited by third party
Publication number Priority date Publication date Assignee Title
CN112121354A (zh) * 2020-09-27 2020-12-25 南阳市中心医院 一种乳腺外科术后康复锻炼装置

Cited By (1)

* Cited by examiner, † Cited by third party
Publication number Priority date Publication date Assignee Title
CN112121354A (zh) * 2020-09-27 2020-12-25 南阳市中心医院 一种乳腺外科术后康复锻炼装置

Similar Documents

Publication Publication Date Title
Colombo et al. Treadmill training of paraplegic patients using a robotic orthosis
US8052629B2 (en) Multi-fit orthotic and mobility assistance apparatus
JP2787313B2 (ja) 肢の運動を調整するための装具または義肢
US20040082885A1 (en) Combination pro/supination and flexion therapeutic mobilization device
Sarkisian et al. Design, development, and validation of a self-aligning mechanism for high-torque powered knee exoskeletons
KR101641344B1 (ko) 발목용 보행 보조 장치
US6416448B1 (en) Therapy and training device
TW201639533A (zh) 互動式外骨骼膝關節機器系統
KR20130111763A (ko) 보행 보조장치
US10898403B2 (en) Device and methods for movement assistance
WO2023066272A1 (zh) 一种机械足
KR101556851B1 (ko) 하지 운동장치
CN110051503A (zh) 一种基于人体下肢外骨骼的(康复)机器人
CN109124988B (zh) 导向机构、下肢康复外骨骼和外骨骼机器人
JP6845045B2 (ja) 長下肢装具用アクチュエータユニット
KR20140107029A (ko) 보행 재활 장치
WO2016180074A1 (en) Interactive exoskeleton robotic knee system
CN107485476B (zh) 足部轴线调整型足下垂康复矫形器
EP3515394B1 (en) Legged mobility exoskeleton device with enhanced adjustment mechanisms
CN211050095U (zh) 一种柔性下肢康复训练机构
CN210256125U (zh) 足踝机构
KR102456142B1 (ko) 착용형 보조장치
TH56920A (th) เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่อง
US5320590A (en) Orthopedic bracing mechanism for facilitating hip reciprocation
TH32617B (th) เครื่องช่วยขยับข้อแบบต่อเนื่อง