TH2003001762C3 - กรรมวิธีการผลิตถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตเพื่อให้ได้เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ - Google Patents
กรรมวิธีการผลิตถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตเพื่อให้ได้เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระInfo
- Publication number
- TH2003001762C3 TH2003001762C3 TH2003001762U TH2003001762U TH2003001762C3 TH 2003001762 C3 TH2003001762 C3 TH 2003001762C3 TH 2003001762 U TH2003001762 U TH 2003001762U TH 2003001762 U TH2003001762 U TH 2003001762U TH 2003001762 C3 TH2003001762 C3 TH 2003001762C3
- Authority
- TH
- Thailand
- Prior art keywords
- powder
- soybean
- hydrolyzate
- percent
- temperature
- Prior art date
Links
Abstract
กรรมวิธีการผลิตถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตเพื่อให้ได้เปปไทต์ที่มิฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ คือ กระบวนการย่อย สลายโปรตีนถั่วเหลืองด้วยเอนไซม์อัลคาเลส โดยนำถั่วเหลืองมาบดให้เป็นผงละเอียดขนาดเล็ก นำไปกรองด้วย เครื่องเขย่าตะแกรง แล้วผสมนํ้าในอัตราส่วนถั่วเหลืองผงต่อนํ้าเท่ากับ 20:80 ในถังหมักชีวภาพที่มีใบกวนและ ควบคุมอุณหภูมิได้ ปรับค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 8 ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ควบคุมสภาวะอุณหภูมิที่ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสที่ใช้ในระดับอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมในการย่อย (สัญลักษณ์)800,000 ยูนิตต่อกรัม ด้วยความเข้มข้นเอนไซม์ร้อยละ 4 แล้วกวนผสมด้วยใบกวนที่ความเร็วรอบ 150 รอบ ต่อนาที เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง หยุดปฏิกิริยาของเอนไซม์ด้วยการลดอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส และกรอง แยกกากด้วยตะแกรง นำนํ้าถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตวิเคราะห์ระดับการย่อยสลาย จากนั้นทำให้เป็นผงผ่าน กระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย แล้วคัดแยกขนาดโมเลกุลของโปรตีนและวิเคราะห์การกระจายตัวของ นํ้าหนักโมเลกุลของผงถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตที่มีขนาดมากกว่า 30 ,10-30, 3-10, 1-3 และน้อยกว่า 1 กิโล ดาลตัน วิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ วิเคราะห์ความสามารถในการละลาย และวัดสีของผง ถั่วเหลืองไฮโดรไลเสต ทำให้ได้ผงโปรตีนถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตที่ได้จากกรรมวิธีนี้มีระดับการย่อยสลาย 64.85 เปอร์เซ็นต์ มีความชื้นร้อยละ 3.64 มีการกระจายตัวของนั้าหนักโมเลกุลของผงถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตที่ขนาด มากกว่า 30, 10-30, 3-10, 1-3 และน้อยกว่า 1 กิโลดาลตัน เท่ากับ 53.62, 18.20, 13.95, 9.52 และ 4.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมิฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดร้อยละ 60.02 ที่ระดับความเข้มข้น 20 มิลลิกรัมต่อ มิลลิลิตร ละลายได้ที่ความเป็นกรดด่าง 3.6, 7.6 และ 9.0 เท่ากับ 72.20, 78.64 และ 88.63 ตามลำดับ และ เมื่อวัดค่าสีด้วยระบบแอลเอบี (L*, a*, b*) มิค่าค่าความสว่าง (L*) ค่าความสดใส ของสี (a*) และค่าสี (b*) เท่ากับ 87.09, 5.20 และ 25.78 ตามลำดับ ลักษณะผงมีสีหลืองนวล และผลิตภัณฑ์มิปริมาณกรดอะมิโน จำเป็นครบถ้วน 17 ชนิด เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทางอุตสาหกรรมอาหารได้
Claims (1)
1. กรรมวิธีการผลิตถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตเพื่อให้ได้เปปไทด์ที่มิฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีขั้นตอนดังนี้ ก. นำถั่วเหลืองมาบดให้เป็นผงละเอียดด้วยเครื่องบดละเอียด แล้วร่อนผ่านตะแกรงด้วยเครื่องเขย่า ตะแกรง (Sieve Shaker) ได้เป็นถั่วเหลืองผง ข. นำถั่วเหลืองผงที่ได้จากข้อ ก. ผสมน้ำในอัตราส่วนถั่วเหลืองผงต่อน้ำเท่ากับ 20 : 80 ลงในถังหมัก ชีวภาพที่มีใบกวนและควบคุมอุณหภูมิได้ ขนาด 2 ลิตร ปรับค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 8 ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ควบคุมสภาวะอุณหภูมิในถังหมักที่ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นย่อยด้วยเอนไซม์อัลคาเลสในระดับอุตสาหกรรม ที่มีกิจกรรมในการย่อย (สัญลักษณ์)800,000 ยูนิตต่อกรัม โดยใช้ความเข้มข้นเอนไซม์ร้อยละ 4 กวนผสมด้วยใบกวนที่ ความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง ค. หยุดปฏิกิริยาของเอนไซม์ด้วยการลดอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส จากนั้นกรองแยกกากถั่วเหลือง ด้วยตะแกรงขนาด 500 ไมครอน เติมสารป้องกันการเสื่อมเสียโซเดียมเบน-โซเอตปริมาณร้อยละ 0.05 จะได้ เป็นน้ำถั่วเหลืองไฮโดรไลเสต ง. นำน้ำถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตที่ได้จากข้อ ค. มาวิเคราะห์ระดับการย่อยสลายของโปรตีน แล้วนำไป ทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอยด้วยเครื่องสเปรย์ดราย (Spray dryer) จะได้เป็นถั่วเหลือง ไฮโดร ไลเสตในรูปแบบผง มีสีเหลืองนวล
Publications (1)
Publication Number | Publication Date |
---|---|
TH2003001762C3 true TH2003001762C3 (th) | 2022-08-03 |
Family
ID=
Similar Documents
Publication | Publication Date | Title |
---|---|---|
KR100912054B1 (ko) | 미강 단백질 추출물의 제조 방법 | |
CN101589761B (zh) | 一种工业用大麻籽抗氧化肽的制备方法及应用 | |
Cho et al. | Physicochemical and biofunctional properties of shrimp (Penaeus japonicus) hydrolysates obtained from hot-compressed water treatment | |
WO2006082922A1 (ja) | 色調が改善されたクチナシ青色素とその製造方法 | |
CN101461440A (zh) | 从低值海水鱼及下脚料蛋白中提取鱼蛋白铁肽的技术 | |
Thierry et al. | Effect of pure culture fermentation on biochemical composition of Moringa oleifera Lam leaves powders | |
CN106173877A (zh) | 一种高值化综合利用小麦麸皮制备膳食纤维的新工艺 | |
CA3145617A1 (en) | Modified pea protein production method | |
CN108902676A (zh) | 小麦基蛋白多肽和改性淀粉复配麦粒模拟物及其制备方法 | |
NO342626B1 (en) | A new method to improve enzyme hydrolysis and resultant protein flavor and bio-activity of fish offcuts | |
CN103966291A (zh) | 酵母蛋白胨 | |
Feng et al. | Mung bean protein as an emerging source of plant protein: a review on production methods, functional properties, modifications and its potential applications | |
CN111493208B (zh) | 一种植物双蛋白的制备方法及其产品 | |
Montecalvo Jr et al. | Enzymatic modification of fish frame protein isolate | |
Fawzya et al. | Characteristics of fish protein hydrolysate from yellowstripe scad (Selaroides leptolepis) produced by a local microbial protease | |
TH2003001762C3 (th) | กรรมวิธีการผลิตถั่วเหลืองไฮโดรไลเสตเพื่อให้ได้เปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ | |
KR101295633B1 (ko) | 분지쇄 아미노산 고함유 쌀 단백질 가수분해물의 제조방법 | |
EP4447699A1 (en) | Fungal biomass food product or fungal biomass food ingredient | |
CN109287843A (zh) | 一种大米蛋白及其制备方法 | |
CN109892471B (zh) | 一种米蛋白加工方法及产品 | |
CN109393139A (zh) | 一种食品蛋白粉的制备方法 | |
CN104365989A (zh) | 麦胚蛋白粉的制备方法 | |
CN109588569A (zh) | 一种利用发酵豆粕配制的无动物蛋白源猪用日粮及其应用 | |
Karaman et al. | Color based genotypic differences effect the techno-functional and bioactive properties of common bean (Phaseoulus vulgaris L.) protein concentrates | |
EP4190157A1 (en) | A method to obtain a protein-rich lupin flour, a protein-rich lupin flour and its uses thereof |